พจนานุกรม Collins English Dictionary เลือกให้ 'NFT' เป็นคำแห่งปี 2564 (นับรวมทุกภาษาแล้ว) โดยเทคโนโลยีบล็อกเชนที่ใช้สนับสนุน NFT นั้นถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2560 แต่สาธารณชนเริ่มให้ความสนใจจริง ๆ ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมานี้เองหลังจากที่เทคโนโลยีดังกล่าวเข้าสู่วงการประมูลงานศิลปะ จนทุกวันนี้ดูเหมือนใคร ๆ ต่างก็พูดถึง NFT กันทั้งนั้น...
ตลาดดิจิทัลแห่งใหม่นี้หลอมรวมกับตลาดงานศิลปะในโลกจริงได้อย่างแนบสนิท โดยคิดเป็น 8% ของมูลค่าการประมูลงานศิลปะในตลาดรองทั่วโลก แต่ทั้ง 2 วงการนี้ยังอาจพัฒนาคู่ขนานกันไปได้อีกด้วย โดยมีการร่วมงานข้ามวงการกันในช่วงสั้น ๆ ระหว่างโลกจริงกับโลกเมตาเวิร์ส... เหมือนหยินกับหยาง
thierry Ehrmann ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Artmarket.com และฝ่าย Artprice กล่าวว่า: "การปรากฏตัวของ NFT ในวงการประมูลนั้นนับเป็นการปฏิวัติโดยแท้จริง โดยความน่าตื่นเต้นของเรื่องดังกล่าวอธิบายได้จากทั้งดีมานด์ที่อัดอั้นมายาวนานและบริบททางเศรษฐกิจที่เป็นใจโดยเฉพาะ ผลงานที่ได้สร้างสถิติครั้งแรกของ Beeple (69.3 ล้านดอลลาร์) ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาเป็นตัวอย่างที่ดีของดีมานด์ที่เก็บกดไว้ ในระดับที่บริษัท Christie's เองก็คาดไม่ถึง โดย NFT ตั้งคำถามกับวิธีการทำงานแบบดั้งเดิมของตลาดงานศิลปะ เนื่องจากศิลปินที่ไม่เคยมีประวัติในตลาดไหนมาก่อน (แต่มีชุมชนขนาดใหญ่ทางโซเชียลเน็ตเวิร์ก) สามารถทำราคาถึงระดับที่ปกติแล้วจะสงวนไว้สำหรับศิลปินอย่างเรอเน มากริต และวิลเลิม เดอ โกนิง ได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง"
Artprice โดย Artmarket.com อธิบาย NFT สำหรับปี 2565
Artmarket.com: Perfectly Positioned to Generate Enormous Revenue From Its NFT Marketplace on Artprice-nft.com (Artmarket.com มีสถานะที่ดีในการสร้างรายได้จำนวนมหาศาลจาก NFT Marketplace ใน Artprice-nft.com)
Artmarket.com: Artprice Manifesto - The future of NFTs and the Metaverse (Artmarket.com: Artprice Manifesto - อนาคตของ NFTs และเมตาเวิร์ส)
Artmarket.com: Here's why the art market, via the NFT revolution, will enjoy exponential growth with Artprice (Artmarket.com เผยเหตุผลที่ NFT จะผลักดันให้ตลาดงานศิลปะเติบโตอย่างทวีคูณบนแพลตฟอร์ม Artprice)
Artprice ย้อนมองพัฒนาการสำคัญในปี 2564 ในแต่ละไตรมาส
ไตรมาส 1: บอตติเชลลี vs. บีเพิล
Sotheby's เผยภาพวาดขุนนางหนุ่มถือรูปนักบุญในกรอบวงกลม หรือ Portrait of a Young Man Holding a Roundel (ผลงานจากซานโดร บอตติเชลลี จิตรกรชาวฟลอเรนซ์) สู่สาธารณชนในเดือนกันยายน 2563 ก่อนที่โควิด-19 จะระบาดระลอก 2 ได้ไม่นาน แล้วเปิดประมูลในนครนิวยอร์กเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2564 แม้ก่อนหน้านี้จะมีข้อกังขากันในวงการว่าลีโอนาร์โด ดาวินชี เป็นเจ้าของผลงานศิลปะที่แพงที่สุดในโลก (Salvator Mundi) หรือไม่ และถึงแม้จะยังคงมีวิกฤตโควิด-19 ลุกลามไปทั่วโลกก็ตาม ผลงานชิ้นเอกของบอตติเชลลีชิ้นหายากนี้ก็ประมูลได้ถึง 92 ล้านดอลลาร์ นับเป็นราคาประมูลสูงสุดตลอดกาลเป็นอันดับ 2 สำหรับผลงานจากจิตรกรชั้นครู
งานวิจิตรศิลป์ทั้งหมด 121,000 ชิ้นถูกประมูลไปในไตรมาส 3 ของปี 2564 โดยการทำธุรกรรมครั้งประวัติศาสตร์ที่ทวีความร้อนแรงในช่วงฤดูร้อนนี้ส่วนใหญ่แล้วขับเคลื่อนโดยตลาดเอเชีย ไม่ใช่แค่ในฮ่องกงเท่านั้น แต่ยังรวมถึงจีนแผ่นดินใหญ่ เกาหลีใต้ และญี่ปุ่นอีกด้วย
งานวิจิตรศิลป์ 3 อันดับแรกในเอเชียระหว่างเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมปี 2564
คุซามะ ยาโยอิ (2472): Pumpkin (2524) มูลค่า 4,290,000 ดอลลาร์ ณ วันที่ 31 ก.ค. 2564 ในการประมูลที่ Mainichi Tokyo
ฟู่ เป้าสือ (2447-2508): Spring (2506) มูลค่า 4,400,000 ดอลลาร์ ณ วันที่ 25 ก.ค. 2564 ในการประมูลที่ Xiling Yinshe Hangzhou
คิม ฮานกี (2456-2517): 1 -VII 71 # 207 (2514) มูลค่า 4,152,720 ดอลลาร์ ณ วันที่ 24 ส.ค. 2564 ในการประมูลที่ Seoul Auction
ไตรมาส 4 : สัญญาณทั้งหมดเป็นไปในเชิงบวก....
ในช่วงเดือนตุลาคมและพฤศจิกายนถือเป็นนาทีทองในการทำสถิติใหม่สำหรับศิลปินทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าจะเป็นแจ็กสัน พอลล็อก, กุสตาฟว์ เคลเลอโบต์, ปีเตอร์ ด็อก, ฟรีดา กาโล, แบงก์ซี่, ปีแยร์ ซูลาฌ, แอกเนส มาร์ติน และอีกมากมาย การขายสองผลงานศิลปะอเมริกันอันเลื่องชื่อ ได้แก่ Impressionist Cox Collection ผ่าน Christie's และ Post-War Macklowe Collection ที่ Sotheby's ทำให้ไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 เป็นไตรมาส 4 ที่ประสบความสำเร็จที่สุดในประวัติศาสตร์ตลาดศิลปะอเมริกัน
สถานการณ์น่าจะฟื้นตัวจากการระบาดของโรคโควิด-19 หลังปี 2563 โดย Artprice จะจับตาอย่างใกล้ชิดต่อช่วงขาขึ้นของกิจกรรมต่าง ๆ และเผยแพร่ผ่านรายงาน Annual Art Market Report
นอกเหนือไปจากปรากฎการณ์ NFT แล้ว หนึ่งในกระแสสำคัญของปีนี้คือการผงาดขึ้นของตลาดฮ่องกงซึ่งพิสูจน์แล้วว่ามีศักยภาพแข็งแกร่งสำหรับตลาดศิลปะโลก ไม่เพียงแค่สามารถขายผลงานศิลปะชิ้นสำคัญของฌอง-มิเชล บาสเกียได้เป็นคร้งแรกในเอเชียเท่านั้น แต่ยังทำสถิติใหม่ให้กับผลงานสำคัญได้อีกด้วย ทั้งผลงานจากตะวันตก (ริชาร์ด ปรินซ์) และเอเชีย (คุซามะ ยาโยอิ) แต่นอกเหนือไปจากนั้น ฮ่องกงยังได้กลายเป็นศูนย์กลางแห่งใหม่สำหรับศิลปินสายเลือดใหม่ อาทิ เอเวอรี ซิงเกอร์ ศิลปินชาวอเมริกัน และอาโมโกะ โบอาโฟ ศิลปินจากกานา สุดท้าย แต่ไม่ท้ายสุด....บัดนี้ ฮ่องกงได้กลายมาเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการขาย NFT สำคัญแห่งใหม่ของโลกแล้ว
ภาพ:
[https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2021/12/image1-artprice-index.png]
[https://imgpublic.artprice.com/img/wp/sites/11/2021/12/image2-boticelli.jpeg]
ลิขสิทธิ์ 2530-2564 thierry Ehrmann www.artprice.com - www.artmarket.com
ติดต่อฝ่ายเศรษฐมิติเพื่อขอข้อมูลสถิติและผลการศึกษารูปแบบเฉพาะได้ที่: econometrics@artprice.com
ลองใช้บริการของเรา (ลองใช้ฟรี): https://www.artprice.com/demo
สมัครสมาชิกบริการของเรา: https://www.artprice.com/subscription
เกี่ยวกับ Artmarket:
Artmarket.com มีชื่ออยู่ใน Eurolist โดย Euronext Paris, SRD long only และ Euroclear: 7478 - Bloomberg: PRC - Reuters: ARTF
สำรวจ Artmarket และฝ่าย Artprice ทางวิดีโอ: www.artprice.com/video
L'Obs - The Museum of the Future: https://www.youtube.com/watch?v=29LXBPJrs-o
www.facebook.com/la.demeure.du.chaos.theabodeofchaos999
(ผู้ติดตาม 4.4 ล้านราย)
https://vimeo.com/124643720
อินโฟกราฟิก - https://mma.prnewswire.com/media/1717224/Artprice_Index_Infographic.jpg
รูปภาพ - https://mma.prnewswire.com/media/1717225/Artmarket_Botticelli.jpg
โลโก้ - https://mma.prnewswire.com/media/1009603/Art_Market_logo.jpg
ติดต่อ Artmarket.com และฝ่าย Artprice ได้ทาง: Thierry Ehrmann, ir@artmarket.com