เรื่องล่าสุดของหมวด
"เมล็ดทานตะวัน" กับประโยชน์ดีๆ ที่สายรักสุขภาพห้ามพลาด
ไขข้อสงสัย “กำจัดขนด้วยเลเซอร์” อันตรายหรือไม่
มะเขือเทศสด VS น้ำมะเขือเทศกล่อง อันไหนมีประโยชน์มากกว่ากัน
9 ประโยชน์ดีๆ จาก “ถั่ววอลนัท” ลดน้ำหนัก-คอเลสเตอรอล
"โปรตีนจากพืช-จากสัตว์" มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไร?
“หัวนม” แบบไหน “ไม่ปกติ”
โรคไข้เลือดออก มีอาการอย่างไร แนะนำวิธีรักษา และป้องกัน
สมองซีกซ้าย สมองซีกขวา ทำงานแตกต่างกันอย่างไร?
“คลั่งรัก” อาการของคนตกหลุมรักอย่างถอนตัวไม่ขึ้น ผิดปกติหรือไม่?
ฝันว่าฆ่าคนตาย บอกอะไรเกี่ยวกับสุขภาพจิตของเราได้บ้าง?
สิ่งที่ควรทำ-ไม่ควรทำ กับผู้ป่วยโรค "ซึมเศร้า"
วิธีสังเกตอาการระหว่าง "ซึมเศร้า" กับ "ไบโพลาร์"
ปัจจัยเสี่ยง “หลอดลมอักเสบ” ที่คุณอาจทำโดยไม่รู้ตัว
5 สัญญาณอันตราย “เส้นเลือดในสมองตีบ”
ซีสต์ กับเนื้องอก ต่างกันอย่างไร? แบบไหนอันตรายกว่ากัน?
4 โรคยอดฮิตที่เริ่มจากอาการ “ปวดท้อง”
อันตราย! หากคิดอยาก "ฝ่าไฟแดง"
10 สัญญาณอันตราย โรค “ตับแข็ง”
กินยาแก้แพ้ แทนยานอนหลับ เสี่ยงผลข้างเคียงไม่รู้ตัว
ไขข้อสงสัย กินยาแก้ปวดท้องประจำเดือนบ่อยๆ อันตรายหรือไม่?
อันตรายจาก “ยาคลายกล้ามเนื้อ” หากกินไม่ถูกวิธี
ยาคลายกล้ามเนื้อ Norgesic vs Mydocalm ต่างกันอย่างไร?
"วิตามินบีรวม" มีประโยชน์ในการป้องกันโรคอะไรได้บ้าง
“ใบบัวบก” กับ 10 ประโยชน์ดีๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้ พร้อมวิธีทำน้ำใบบัวบก
หน้า: 1
แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?
จากการทดสอบเลือดของกลุ่มตัวอย่าง พบว่าเกือบ 80% มีอนุภาคไมโครพลาสติกในกระแสเลือดการค้นพบนี้แสดงให้เห็นว่าอนุภาคขนาดเล็กสามารถเดินทางไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้และอาจถูกกักไว้ตามอวัยวะต่าง ๆ แม้ว่าจะยังไม่สามารถทราบได้ว่า ผลกระทบของไมโครพลาสติกต่อสุขภาพนั้นจะเป็นอย่างไร แต่นักวิจัยก็ยังมีความกังวล เพราะจากการศึกษาในห้องทดลอง พบว่าไมโครพลาติกสามารถทำอันตรายต่อเซลล์ของมนุษย์ได้ และอนุภาคขนาดเล็กของมลพิษทางอากาศสามารถเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ และเป็นสาเหตุให้เกิดการเสียชีวิตกว่าล้านคนต่อปีคุณรู้หรือไม พลาสติกจำนวนมหาศาลเล็ดลอดสู่สิ่งแวดล้อม จนแตกตัวกลายเป็นไมโครพลาสติก ในปัจจุบันไมโครพลาสติกได้ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมไปทั่วโลก ตั้งแต่เทือกเขาเอเวอร์เรสไปจนถึงก้นทะเล บางครั้งเราอาจบริโภคพลาสติกที่มีขนาดเล็กผ่านอาหาร น้ำ หรือแม้กระทั่งการหายใจ มากไปกว่านั้น ในปี 2561 มีงานวิจัยที่พบไมโครพลาสติกในอุจจาระของทารกและผู้ใหญ่แต่อย่างไรก็ตาม ประเด็นนี้เป็นที่น่ากังวลและต้องคอยติดตามอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากผลกระทบของมลพิษพลาสติกนั้นใกล้ตัวเราขึ้น และยิ่งทวีความรุนแรงในทุก ๆ วัน เรารู้ว่ามันอยู่ในอาหาร อยู่ในน้ำที่เราดื่ม หรือแม้แต่อากาศที่เราหายใจ จึงไม่น่าแปลกที่จะพบในร่างกายของพวกเรา แม้ว่าเรายังไม่พบผลกระทบต่อร่างกายที่ชัดเจน แต่ผลการศึกษาที่พบพลาสติกในเลือดนั้นก็ยังน่าตกใจอยู่ดีเรามีส่วนช่วยอย่างไรได้บ้าง?ทางด้าน ภาครัฐ- ออกกฎหมายเพื่อควบคุมการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง และสนับสนุนระบบใช้ซ้ำทางด้าน ภาคผู้ผลิต- ลดการใช้บรรจุภัณฑ์พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และเปลี่ยนมาลงทุนในระบบใช้ซ้ำ และระบบที่นำบรรจุภัณฑ์ส่วนตัวไปเติมได้ และหาช่องโหว่งในห่วงโซ่ของตนเพื่อจัดการกับบรรจุภัณฑ์ของตนทางด้าน ผู้บริโภค- ร่วมกันเรียกร้องให้ผู้ผลิตและภาครัฐร่วมกันจัดการปัญหามลพิษพลาสติกอย่างเป็นรูปธรรม- ร่วมลดใช้และค่อย ๆ ปฏิเสธพลาสติกครั้งเดียวทิ้งที่ไม่จำเป็นสำหรับข้อมูลเพิ่มเติมท่านสามารถอ่านเพิ่มได้จากลิงค์ข้างด้านล่าง ข้อมูลอ้างอิงจาก ข้อมูลอ้างอิง -https://www.theguardian.com/.../microplastics-found-in...- https://www.theguardian.com/.../microplastics-damage...พลาสติกตัวร้าย ภัยคุกคามห่วงโซ่อาหารมลพิษพลาสติกเหล่านี้เป็นภัยคุกคามต่อสิ่งมีชีวิตในทะเล ทั้งเต่าทะเล ปลา นกทะเล รวมถึงปะการังด้วย นอกจากนี้การแตกตัวของขยะพลาสติกไปสู่พลาสติกจิ๋วๆ ที่เราเรียกมันว่า ไมโครพลาสติก ยังมีความเสี่ยงที่จะถูกสัตว์ทะเลกินเข้าไปโดยไม่รู้ตัว เมื่อเป็นเช่นนั้น ไมโครพลาสติกเหล่านี้ก็จะไหลทะลักเข้าสู่ห่วงโซ่อาหาร และแน่นอนว่ามนุษย์เราก็เป็นหนึ่งในห่วงโซ่นี้การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในอาหารและมนุษย์หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมของออสเตรีย (The Environment Agency Austria) ได้นำอุจจาระจากผู้ร่วมการทดลอง 8 คน จาก 8 ประเทศอย่าง ออสเตรีย อิตาลี ฟินแลนด์ เนเธอร์แลนด์ โปแลนด์ ญี่ปุ่น รัสเซีย และสหราชอาณาจักร โดยแต่ละคนได้รับประทานอาหารประจำวันแบบปกติ (ผู้ที่ร่วมการทดลองไม่มีใครทานมังสวิรัต และมี 6 คนที่ทานปลาทะเล) ก่อนที่จะส่งอุจจาระของพวกเขาให้หน่วยงานได้วิเคราะห์ ผลที่ได้คือ ตรวจเจอไมโครพลาสติกจากอุจจาระของผู้ที่ร่วมการทดสอบทุกราย โดยไมโครพลาสติกที่พบมีตั้งแต่ พอลิเอทธิลีนเทเรฟธาเลท (ใช้ทำขวดน้ำดื่ม) โพลีพรอพีลีน (เช่น ถุงร้อนพลาสติกบรรจุอาหาร แก้วโยเกิร์ต ) ไปจนถึง โพลีไวนิลคลอไรด์ หรือ PVC (เช่น ฟิล์มห่ออาหาร) เฉลี่ยแล้วพบว่าในแต่ละ 10 กรัมของอุจจาระจะเจออนุภาคของไมโครพลาสติกจำนวน 20 ชิ้นนอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ระบุว่า พบไมโครพลาสติกผสมอยู่ในเกลือ โดยเป็นผลการศึกษาร่วมระหว่างศาสตราจารย์ซึง-คยู คิม (Seung-Kyu Kim) แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติอินชอน และกรีนพีซ เอเชียตะวันออก เพื่อตรวจสอบการปนเปื้อนของไมโครพลาสติก (พลาสติกขนาดจิ๋ว) ในเกลือ พบไมโครพลาสติกในเกลือจากแบรนด์ต่างๆจากทั่วโลกผลวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ามลพิษขยะพลาสติกไม่ได้เป็นอันตรายต่อสัตว์ทะเล เพียงอย่างเดียว แต่มลพิษขยะพลาสติกที่พวกเราสร้างขึ้นกำลังคุกคามเราอย่างเงียบๆไมโครพลาสติกทำอะไรกับร่างกายเราเมื่อไมโครพลาสติกเหล่านี้หลุดรอดเข้าไปอยู่ในร่างกายของเราโดยที่เราไม่รู้ตัวนั้น เราอาจเปรียบเทียบกับงานวิจัยที่ตรวจสอบการหลุดรอดของไมโครพลาสติกเข้าไปในร่างกาย และข่าวร้ายก็คือ พลาสติกเล็กจิ๋ว(แต่ร้าย)พวกนี้มีสารชนิดหนึ่งที่เรียกว่า BPA หรือบิสฟีนอลเอ สารตัวนี้จะไปรบกวนการทำงานของระบบในร่างกาย รบกวนการทำงานการปล่อยฮอร์โมนเอสโทรเจนด้วยระบบการจัดการขยะพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้งที่ล้มเหลว เป็นสาเหตุหลักอีกประการที่ทำให้ขยะพลาสติกไปกองอยู่ในมหาสมุทร นอกเหนือจากปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น ขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐาน กิจกรรมต่างๆของมนุษย์ที่สร้างผลกระทบ มีความเข้าใจไม่เพียงพอถึงผลลัพธ์ที่เกิดจากพฤติกรรมของเรา ช่องว่างของการบังคับใช้กฎหมาย ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับสากล รวมทั้งขาดแหล่งเงินทุนแม้ว่าในการประชุม Our Ocean (พ.ศ.2561) บริษัทผู้ผลิตอาหารและน้ำดื่มยักษ์ใหญ่ต่างออกมาให้คำมั่น จะปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ให้สามารถรีไซเคิลทั้งหมด 100% ภายในปี ค.ศ. 2020-2030 ซึ่งถ้ามองจากตัวเลขที่ขยะรีไซเคิลพลาสติกสามารถนำเข้ากระบวนการรีไซเคิลได้จริงเพียง 9% ก็คงไม่ช่วย เพราะอีก 91%ก็จะไปสิ้นสุดที่หลุมฝังกลบ เตาเผาขยะหรือมหาสมุทรของเราการเรียกร้องให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่เหล่านี้หยุดการใช้พลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวมาเป็นบรรจุภัณฑ์ของสินค้าอุปโภคบริโภค เป็นเรื่องของเราทุกคน ทั้งประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ ในการกำหนดนโยบายควบคุมและยุติมลพิษพลาสติกตัวร้ายเหล่านี้ข้อมูลอ้างอิงจาก - https://www.greenpeace.org/.../resist/plastic1/harm-plastic/#BreakFreeFromPlastic #พลาสติก#สิ่งแวดล้อมโลก ขอบคุณที่มา https://web.facebook.com/9378497097/posts/10159288653237098/?d=n&_rdc=1&_rdrhttps://www.greenpeace.org/.../resist/plastic1/harm-plastic/
แจ้งเตือน
ภาพและเนื้อหาต่อไปนี้ ไม่เหมาะสมแก่เด็ก และเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี