คลอดกันมาใหม่กับโครงการดึงนักท่องเที่ยวเข้าประเทศไทย กับการขยายระยะวีซ่าการอาศัยอยู่ในประเทศไทย
โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มที่เป็นเป้าหมายที่ประเทศไทยจะดึงดูดให้มาถือ LTR Visa ได้แก่
- กลุ่มผู้มีความมั่งคั่งสูง
- กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ
- กลุ่มผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย
- ผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ โดยจะให้สิทธิประโยชน์ ประกอบด้วย สิทธิพำนักในประเทศไทย 10 ปี สามารถใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ในการเข้าออกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศ รายงานตัวทุก1 ปี (จากเดิมทุก 90 วัน) และไม่ต้องยื่นขออนุญาตกลับเข้ามาในราชอาณาจักร (Re-entry permit) อนุญาตให้ทำงานในประเทศไทย โดยลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเหลือร้อยละ 17 สำหรับกลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ และมีผู้ติดตามได้ 4 คน
จากนโยบายดังกล่าว อาจวิเคราะห์ได้ว่าน่าจะดึงกลุ่มเป้าหมายที่มีภรรยาคนไทยในประเทศไทยกลับมาตั้งรกรากในประเทศ และกลุ่มที่มาใช้ชีวิตปั่นปลายในประเทศไทย แต่อย่าลืมว่ากลุ่มนี้ อาจจะเป็นกลุ่มที่กระตุ้นเศรษฐกิจระยะยาว เนื่องจากการวางรากฐานในประเทศไทยนั้น ชาวต่างชาติประเภทนี้ จะเรียนรู้การใช้เงินได้อย่างประหยัดอย่างไม่น่าเชื่อ
แต่ก็ยังเป็นเรื่องที่ดี ที่เราสามารถดึงเงินจากกลุ่มต่างชาติตัดสินใจเลือกที่จะเข้ามาในประเทศไทย
แต่ในภาคของธุรกิจท่องเที่ยวโครงการนี้อาจจะไม่ได้ส่งตรงถึงกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวโดยตรง เพราะกลุ่มนี้ จะมีเพียงกี่เปอร์เซนต์ ที่จะพักโรงแรม แต่กลับพักอาศัยหรือซื้อบ้านในระยะยาว
ดังนั้นการที่ภาครัฐให้การช่วยเหลือเยียวยาแก่อุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบเป็นสิ่งที่ควรที่จะต้องดำเนินต่อไป ไม่ว่าจะเป็นการเยียวยาผู้ประกอบการภายในสนามบิน ที่ขยายระยะเวลาการเลื่อนการชำระค่าผลประโยชน์ตอบแทน ค่าเช่าพื้นที่ และค่าบริการต่างๆ หรือการทำโครงการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำจากรัฐให้กับกลุ่มโรงแรมต่างๆ เพื่อให้ดำเนินธุรกิจนี้ได้ต่อไป
ถ้าไม่มีการผ่อนปรนหรือโครงการมาช่วยเหลือตรงนี้ ผู้ประกอบการอยู่กันไม่ได้แน่ๆ