ร่างกายของเราเป็นเสมือนเครื่องจักรที่ต้องทำ
งาน 24 ชั่วโมง การนอนเหมือนกับให้เครื่องจักรได้หยุดพัก ร่างกายจะอาศัยช่วงเวลานอนหลับซ่อมแซมพักฟื้นตนเอง ปรับปรุงระบบต่าง ๆ ในร่างกายให้มีประสิทธิภาพ หากเรามี
อาการนอนหลับไม่สนิท จะส่งผลเสียต่อสุขภาพของเราได้ ดังนั้นหากคุณมีอาการนอนไม่หลับที่ยังไม่รุนแรง สามารถดูแลตัวเองและมีแนวทางในการรักษา 2 วิธี ได้แก่ การดูแลรักษาโดยแพทย์หรือการใช้ยา และการดูแลรักษาโดยไม่ต้องใช้ยาดังนี้
2 วิธีในการรักษา
อาการนอนหลับไม่สนิท 1. การรักษาโดยแพทย์หรือการใช้ยา
การรักษาโรคนอนไม่หลับโดยวิธีทางการแพทย์จะแบ่งออกเป็นการรักษาด้วยการใช้ยา และการบำบัดรักษาทางการแพทย์ สำหรับการใช้ยา จะสั่งยาโดยแพทย์เท่านั้น ซึ่งเป็นยาที่ใช้เพื่อเพิ่มระดับฮอร์โมนเมลาโทนิน หรือยารักษาอาการทางจิต ช่วยผ่อนคลายและลดอาการวิตกกังวล ทำให้นอนหลับง่ายและหลับสนิท
ส่วนการบำบัดรักษาทางการแพทย์ เป็นการรักษาเพื่อให้เกิดภาวะผ่อนคลาย เช่น ดนตรีบำบัด วารีบำบัด การบำบัดแบบปรับเปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม
2. การดูแลรักษาโดยไม่ต้องใช้ยา
•จัดการกับปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการนอนหลับ เช่น เรื่องสุขลักษณะการนอน ห้องนอนควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อุณหภูมิเหมาะสม เงียบ
•ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลายก่อนนอน หลักเลี่ยงเรื่องที่ส่งผลให้เกิดความเครียด และทำให้รู้สึกตื่นตัว เช่น เล่นเกมส์ เล่น
โทรศัพท์มือถือ•ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนเป็นส่วนประกอบในช่วงเย็น เพราะคาเฟอีนจะส่งผลให้นอนไม่หลับ
•เมื่อเข้านอนแล้วแต่ไม่สามารถนอนหลับได้ในเวลาประมาณ 20 นาที ให้ลุกขึ้นจากเตียงไปทำกิจกรรมที่สบายๆ และผ่อนคลาย แล้วกลับไปนอนใหม่อีกครั้งเมื่อง่วง
•หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ การออกกำลังจะทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น
•เข้านอน-ตื่นนอนให้เป็นเวลา
•หลีกเลี่ยงการงีบหลับในตอนกลางวัน
•งดดื่มเครื่องดื่มประเภทแอลกอฮอล์ แม้เครื่องดื่มเหล่านี้จะทำให้นอนหลับง่ายแต่จะตื่นบ่อย ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ
•งดสูบบุหรี่ และสารเสพติด
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากคุณมี
อาการนอนหลับไม่สนิท มานานกว่า 1 เดือน จะส่งผลกระทบต่ออารมณ์และการทำงานได้ ดังนั้นควรรีบไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพือหาวิธีในการรักษาซึ่งในการรักษาโรคนอนไม่หลับ ทั้งนี้ต้องอาศัยความร่วมมือกันระหว่างตัวผู้ป่วยเองและแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ ผลกระทบและวิธีที่จะใช้ในการรักษาที่ดีต่อตัวผู้ป่วยมากที่สุดได้ค่ะ