ออมรอน เฮสธแคร์ เตรียมนำเสนอความพยายามใหม่ ๆ เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ "Going for Zero" ขจัดปัญหาหลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจ ที่งานซีอีเอส ประจำปี 2566
- เตรียมเปิดตัวบริการติดตามผู้ป่วยทางไกลแบบใหม่อย่าง "Viso" ในสหราชอาณาจักร ช่วงต้นปี 2566 -
บริษัท ออมรอน เฮสธแคร์ จำกัด (OMRON Healthcare Co., Ltd.) ซึ่งในที่นี้จะเรียกว่า "บริษัท" ขอเปิดตัวบริการติดตามผู้ป่วยทางไกลแบบใหม่ในสหราชอาณาจักร เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ "Going for Zero" (มุ่งบรรลุเป้าหมายเป็นศูนย์) เพื่อขจัดปัญหาหลอดเลือดสมองและหัวใจวายเฉียบพลัน ที่งานจัดแสดงเทคโนโลยีเพื่อผู้บริโภคที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่างงานซีอีเอส ประจำปี 2566 (CES 2023) บริษัทมีเป้าหมายอยู่ที่ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial Fibrillation หรือ AFib) ซึ่งเป็นหนึ่งในอาการเต้นผิดปกติของหัวใจที่พบได้มากขึ้น พร้อมนำเสนอความพยายามต่าง ๆ เพื่อตรวจจับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วตั้งแต่เนิ่น ๆ ในงานซีอีเอส ประจำปี 2566 ซึ่งมีขึ้นในวันที่ 5-8 มกราคม ที่ลาสเวกัส สหรัฐอเมริกา
โลโก้: https://kyodonewsprwire.jp/img/202212271734-O2-jtQRl17o
รายละเอียดการออกบูธจัดแสดง:
ธีมที่งานซีอีเอส ประจำปี 2566
1. ตรวจจับอาการของโรคหัวใจแต่เนิ่น ๆ โดยใช้การวัดความดันเลือด + เทคโนโลยีตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
ออมรอน เฮสธแคร์ เล็งเป้าหมายไว้ที่ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (AFib) ซึ่งเป็นภาวะหัวใจประเภทหนึ่งที่พบได้มากขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดเหตุหัวใจ โรคนี้แสดงอาการน้อยมาก โดยเป็น ๆ หาย ๆ หรือไม่ก็ไม่สังเกตเห็นเลย จึงยากต่อการตรวจพบอาการตั้งแต่เนิ่น ๆ อย่างไรก็ดี การตรวจพบตั้งแต่เนิ่น ๆ และการรักษาที่เหมาะสมช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองได้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าความดันโลหิตสูงเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ถึง 3 เท่าเมื่อเทียบกับระดับเฉลี่ย ซึ่งในสหรัฐอเมริกามีผู้ใหญ่ 116 ล้านคนที่มีความดันโลหิตสูง และ 37 ล้านคนในจำนวนนี้มีความดันโลหิตสูงขั้นที่ 2 ที่ควบคุมไม่ได้ (*1) การวิจัยแสดงให้เห็นว่าความแพร่หลายของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในทศวรรษหน้า (*2) ขณะที่ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ประมาณการว่า 12.1 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาจะมีภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วในปี 2573 (*3) บริษัทจึงได้เปิดตัวเครื่องวัดความดันโลหิตที่ต้นแขนพร้อม ECG ในตัวไปทั่วโลก อุปกรณ์ที่เป็นนวัตกรรมใหม่นี้เปิดโอกาสให้ผู้ใช้และบุคลากรทางการแพทย์ ใช้ข้อมูลที่ตรวจเองที่บ้านไปประกอบการรักษาและตรวจจับภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้วได้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ในผู้ป่วยความดันโลหิตสูง
หมายเหตุ:
(*1) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (14 ตุลาคม 2565) "ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง" ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค https://www.cdc.gov/bloodpressure/facts.htm
(*2) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (14 ตุลาคม 2565) "ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว" ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค https://www.cdc.gov/heartdisease/atrial_fibrillation.htm
(*3) ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (14 ตุลาคม 2565) "ภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว" ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค https://www.cdc.gov/heartdisease/atrial_fibrillation.htm
2. ขยายการดูแลสุขภาพแบบดิจิทัล
บริษัทยังได้เปิดตัวฟีเจอร์ล่าสุดอย่าง "โค้ชสุขภาพหัวใจส่วนบุคคล" (Personal Heart Health Coach) และ "ทีมดูแล" (Care Team) ในแอปออมรอน คอนเน็กต์ (OMRON connect) (สหรัฐ/แคนาดา/ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา) ซึ่งเปิดตัวแล้วในตลาดสหรัฐ แคนาดา ยุโรป ตะวันออกกลาง และแอฟริกา สำหรับฟีเจอร์ "โค้ชสุขภาพหัวใจส่วนบุคคล" นั้น ตัวแอปจะวิเคราะห์ข้อมูลสำคัญที่บันทึกด้วยอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อกับออมรอน โดยใช้เทคโนโลยี AI และให้ข้อมูลเชิงลึกและคำแนะนำแก่ผู้ใช้ในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม พร้อมกับสูตรอาหาร คำแนะนำด้านสุขภาพและการออกกำลังกาย รวมถึงน้ำหนักเป้าหมายและความดันโลหิตตามข้อมูลเชิงลึกเฉพาะของผู้ใช้ ส่วนฟีเจอร์ "ทีมดูแล" จะเปิดโอกาสให้ผู้ใช้สร้างทีมดูแลของตนเอง ซึ่งอาจเป็นผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ เพื่อน หรือสมาชิกในครอบครัว สมาชิกในทีมสามารถตรวจสอบข้อมูลสำคัญในแอปได้เช่นกัน
3. นวัตกรรมบริการติดตามผู้ป่วยทางไกล (Remote Patient Monitoring หรือ RPM) ทั่วโลก
อ่านต่อเพิ่มเติมได้ที่ https://www.thaipr.net/health/3290962