นักวิชาการอีกท่านหนึ่ง อดิศร เสนแย้ม จากสถาบันเอเชียศึกษา จุฬาฯ ซึ่งทำวิจัย
เรื่อง 'ความสัมพันธ์ไทย-ลาว ในสายตาของคนลาว' โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย (สกว.) ก็เกาะติดประเด็นนี้เช่นกัน "ในงานวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ส่วนใหญ่เรามักดูในด้านของเราเอง แต่ที่ผม
ทำเราดูในด้านของเพอร์สเปคทีฟ ค่อนข้างน่าสนใจ เพราะจากการศึกษา เราพบว่า คนลาว
คิดว่าคนไทยดูถูกเขามากที่สุด โดยเปรียบเทียบกับหลายชาติที่เรายกมาเป็นตัวอย่างให้เขา
พิจารณา ได้แก่ อเมริกา จีน เวียดนาม ญี่ปุ่ม กัมพูชา และไทย คิดเป็นร้อยละ 56 ส่วน
อันดับสองคือ อเมริกา ร้อยละ 31 นอกนั้นจะไม่มากเท่าไหร่
เมื่อถามว่าคนไทยกลุ่มไหนที่เขารู้สึกว่าชอบดูถูกคนลาวมากที่สุด ร้อยละ 40 ตอบว่า
ศิลปิน นักร้อง ดาราโทรทัศน์ รองลงมาคือ สื่อมวลชนไทย ร้อยละ 27 ซึ่งผมเคยตั้งคำถาม
ว่าทำไมคนลาวถึงคิดว่าคนไทยดูถูกมากที่สุด เพราะเรามีความคล้ายคลึงกันด้านวัฒนธรรม
ภาษาหรือเปล่า มีคนให้คำตอบผมได้น่าสนใจ เป็นผู้หญิงแก่ๆ คนหนึ่ง บอกว่า เป็นเพราะคน
ลาวเข้าใจภาษาไทยมากที่สุด ถ้าคนเวียดนามด่า ก็อาจไม่เข้าใจ คือมันมีความเข้าใจในเรื่อง
ภาษามากที่สุด แล้วเรื่องของสื่อก็มีส่วน สื่อในบ้านเรามีลักษณะที่เรียกว่า Ethnic Slur ไม่
เฉพาะแต่เรื่องของคนลาว สื่อบ้านเราชอบเอาเรื่องบางอย่าง เช่น ชาติพันธุ์ อาจทำโดยความ
รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น โฆษณาที่ให้ชาวเขาร้อง
เพลงชาติ แต่ร้องเพลงลอยกระทง การพูดไม่
ชัด หรือคนใช้เป็นคนลาว พูดภาษาอีสาน เป็นการนำเอาเรื่องราวตรงนี้มาใช้เพื่อความขบขัน
บางทีก็ปรากฏในสื่อ ภาพยนตร์ต่างๆ คือการเอาเรื่องที่เป็นปมของคนอื่นมาสื่อเป็นเรื่องขบ
ขัน และทำกันจนคิดว่าเป็นเรื่องธรรมดา
อีกอย่างคนผลิตสื่อของบ้านเราอาจจะไม่ได้มองว่า สื่อมันสามารถข้ามเขตข้ามพรมแดนได้
โดยเฉพาะกับประเทศที่มีชายแดนติดกันเขาก็ได้ดูได้บริโภคด้วย ซึ่งวัตถุประสงค์ของผู้ผลิต
อาจตั้งใจไว้ชมกันในประเทศ แต่พอมันข้ามไปมันกระทบความรู้สึกกับคนที่เขาถูกเสียดสี
ถากถาง
อย่างในกรณีของประเทศลาว ซึ่งมีการกระทบกระทั่งกันหลายครั้ง GMM มีปัญหาตั้งแต่ตอน
ทำหนังเรื่อง 15 ค่ำเดือน 11 มีคำถามจากทางลาวว่าทำไม พระลาวต้องเป็นคนจุดบั้งไฟ
กรณีไอ
ทีวีก็เหมือนกัน บั้งไฟพญานาค ทำไมตัวร้ายจะต้องเป็นคนลาว หรือก่อนหน้านี้ก็มี
ปัญหา เช่น กรณีหนังสือ SPICY ที่บอกว่า ผู้หญิงสวย ภาษาลาวบอกว่า 'สวยตายห่า' ถ่าย
รูป บอกว่า 'แหกตาสามัคคี' ซูเปอร์แมน เป็น 'บักอึดถลาลม' หรือไททานิก เรียกว่า 'ชู้รัก
เรือล่ม' ซึ่งไม่เป็นความจริง ไม่เคยมีคำแบบนี้ในลาว ตรงนี้เป็นกรณีต่างๆ ที่ทำให้คนลาวรู้สึก
ไม่พอใจ
ภาพยนตร์เรื่องหมากเตะ ซึ่งเริ่มมีการตัดเป็นโฆษณามาฉายในโรงภาพยนตร์ คนก็
รู้สึกไม่พอใจ เรียกร้องไปยังสื่อมวลชน ไปยังหน่วยราชการ ให้ถอดหนังโฆษณา มีปฏิกิริยา
ค่อนข้างมากในเวียงจันทน์ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ มีการแสดงออกทางเวบไซต์อะไร
ต่างๆ ซึ่งผมสังเกตว่าระยะหลัง มีกลุ่มที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว คือ กลุ่มคนรุ่นหนุ่มสาว ซึ่งเขา
บริโภคสื่อไทย และใช้อินเทอร์เนตค่อนข้างเยอะ ทำให้รับรู้ข้อมูลข่าวสารได้มาก ปรากฏว่า
ความขัดแย้งทางวัฒนธรรมเกิดขึ้นเป็นระยะ ไม่ว่าจะเป็น กรณี แซม เท่ห์ นิโคล คนเชื่อเกิน
ร้อยละ 51 ว่า นิโคลพูดจาดูถูกผู้หญิงลาว แต่ถ้าถามว่าเคยเห็นหรือได้ยินหรือไม่ อาจจะไม่
เคยเห็น แต่ก็มีปฏิกิริยาถึงขั้นเอาโปสเตอร์ เอาเทปมาทำลาย
ผมเคยมองว่าปรากฏการณ์แบบนี้จะเบาบางลง แต่พอเกิดกรณีของหมากเตะ เป็นเรื่องที่ไม่
ใช่แบบนั้น เป็นอะไรบางอย่างที่เขารู้สึกว่าเขาถูกดูถูกเหยียดหยาม ซึ่งผมคิดว่ามันมีปมอยู่
ส่วนหนึ่งในเรื่องของประวัติศาสตร์ มองในเรื่องของประวัติศาสตร์ได้ แล้วก็เรื่องความแตก
ต่างของขนาดทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับลาว เช่น ตัวเลขจีดีพี เราสูงกว่าลาว 80 กว่าเท่า
รายได้ต่อหัวต่อคน เรามากกว่าลาว 8 เท่า ถ้าดูตรงนี้ความแตกต่างตรงนี้ทำให้เกิดความไม่
ไว้วางใจ ความหวาดระแวงว่าจะถูกดูถูก ถูกเอาเปรียบ ซึ่งโดยเปรียบเทียบกับประเทศที่อยู่
รอบบ้าน ไม่ว่าจะเป็น พม่า ลาว เขมร ยกเว้นมาเลเซีย ก็จะมีลักษณะอย่างนี้
แล้วในส่วนของไทยเราเอง ก็จะมีลักษณะอยู่สองประการ คือ หนึ่ง จิตใต้สำนึก เรามีความ
รู้สึกค่อนข้างที่จะดูหมิ่นดูแคลนเพื่อนบ้าน อันนี้ต้องยอมรับ สอง มีลักษณะที่เรียกว่า ลัทธิ
ไทยเป็นใหญ่ Thai hegemonism ปรากฏการณ์ตรงนี้มันมีลักษณะที่ทำให้เรารู้สึกว่าเรา
เหนือกว่าเพื่อนบ้าน มีเรื่องของการเสียดสี ถากถางคนชาติอื่น เห็นเป็นเรื่องขบขัน เรียกว่า
Ethnic Slur อย่างเรียกคนที่ดูไม่ทันสมัยว่า ลาว เรียกคนขี้เหนียวว่า ยิว หรืออย่างที่คน
อเมริกันเรียกคนผิวดำว่า นิโกร ไทยเราก็มีลักษณะนี้อยู่ในจิตสำนึก ยกเว้นกับมาเลเซีย อาจ
เป็นเพราะในเรื่องเศรษฐกิจเขาดูดีกว่าไทย เพราะฉะนั้นจะไม่ค่อยมีปัญหาตรงนี้อยู่
กรณีเรื่องหมากเตะ ผมคิดว่าโชคดีที่มันยุติได้ เป็นโอกาสที่ทำให้สื่อมวลชนได้ตระหนักว่า
ตรงนี้อาจก่อให้เกิดปัญหาได้ ถ้าไม่มีเคส ไม่มีตัวอย่างให้ต้องตระหนักก็อาจจะไม่รอบคอบ
เท่าที่ดูจากภาพยนตร์ มีหลายเรื่องที่ไม่ได้มีการศึกษา เก็บข้อมูลอย่างถูกต้อง เช่น ลาวไม่
ได้เรียก 'หมากเตะ' เขาเรียก 'หมากบาน' บานมาจากภาษาฝรั่งเศส แล้วเรื่องฝึกนัก
ฟุตบอลให้เคยชินกับอุณหภูมิหนาวเย็นโดยการไปแช่ในห้องเย็น ที่จริงลาวอากาศเย็นกว่าบ้านเรา
บางพื้นที่อุณหภูมิติดลบด้วยซ้ำ บางเรื่องผมคิดว่าเป็น 'ตลกร้าย' เพื่อนบ้านก็คงไม่แฮป
เอาเพื่อนบ้านมาเป็นอะไรที่ตลก ซึ่งเราไม่ได้ทำกับลาวอย่างเดียว กับกลุ่มชาติพันธุ์ก็เหมือน
กัน เพียงแต่ไม่มีใครทักท้วง แต่นี่เป็นเรื่องของชาติ มีการเอาธงชาติ เพลงชาติมาอยู่ใน
เรื่อง ถ้าท่านทูตเขาปล่อยให้มันผ่านไปได้ เขาก็ไม่รู้จะอยู่ได้อย่างไร
ผมว่าเราต้องให้การเรียนรู้คนในสังคม คำพูดบางคำพูด ซึ่งเคยเป็นประเด็นอย่างบ้านพี่เมือง
น้อง ไม่ได้หมายความว่า ใครใหญ่กว่า เล็กกว่า แต่แปลว่าเป็นเครือญาติกัน เพราะฉะนั้นเรา
ควรเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกัน ภายใต้สถานะที่เท่าเทียมกัน
--------------
credit : สุภัตรา ภูมิประภาส The Nation