หัวใจสาธารณะของคนญี่ปุ่นในวันที่ชีวิตนับหนึ่ง
เหตุที่ผมใช้คำว่า”หัวใจสาธารณะ”แทนที่จะใช้คำว่า “จิตสาธารณะ”เพราะว่า คำว่า หัวใจสาธารณะ น่าจะสามารถสื่อความหมาย อธิบาย และกระตุ้นความเข้าใจได้มากกว่า
หากอธิบายความคงจะต้องพูดในเชิงวิชาการกันยืดยาว และไร้ประโยชน์ ภายใต้พื้นที่คอลัมภ์ที่จำกัดแต่ขอยกพฤติกรรม”หัวใจสาธารณะ”ที่ผมได้มีโอกาสอ่านในอีเมล์ของผม โดยคุณผู้ใช้นาม Adisak chua ได้แปลความภาษาญี่ปุ่นที่เขียนไว้ใน hhtp://prayforjapan.jp/tweet.html เล่าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นแก่คนผุ้ประสบภัยชาวญี่ปุ่น ที่แสดงหัวใจสาธารณะต่อกัน ว่า...
-ได้พบเด็กน้อย พูดกับพนัก
งานรถไฟว่า “ขอขอบคุณ ที่เมื่อวาน พวกท่านพยายามอย่างสุดชีวิตที่ทำให้รถไปไฟได้" พนักงานรถไฟถึงกับร่ำไห้ด้วยความตื้นตันใจ ( เมื่อคืนเกิดเหตุแผ่นดินไหว ไฟดับ รถไฟหยุดวิ่ง จนเที่ยงคืนจึงสามารถใช้ได้) “
- ในซุปเปอร์มีสินค้าตกหล่น ระเกะระกะ จากการสั่นไหว ขณะที่ลูกค้าชาวญี่ปุ่นได้ช่วยกันเก็บของและคัดเอาเฉพาะสินค้าที่ตัวเองต้องการไปต่อคิวชำระเงิน
- คนจำนวนมากต้องเดินเท้ากลับที่พัก ขณะที่มีคุณป้าเจ้าของร้านขนม คอยยืนแจกขนมปังแก่ผู้สัญจรผ่านฟรี แสดงถึงความมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมชาติ ในยามวิกฤติ
- ระยะเวลาถึง 4 ชั่วโมงในการเดินเท้ากลับบ้าน ขณะผ่านบ้านหลังหนึ่ง พบป้ายกระดาษติดที่ประตูหน้าบ้าน ปรากฏข้อความว่า “ เชิญใช้ห้องน้ำในบ้านได้ค่ะ” และพบหญิงสาวเจ้าของบ้านเปิดประตูให้คนแก่เข้าไปใช้ห้องน้ำในบ้าน ในขณะที่น้ำตาของเราไหลด้วยความตื้นตันใจ
- ในหลุมหลบภัยแห่งหนึ่งในจังหวัดจิบะ ลุงคนหนึ่งเปรยขึ้นมาว่า ต่อจากนี้ไปจะเป็นอย่างไรนะ เด็กหนุ่ม ม.ปลาย ตอบกลับไปว่า ไม่เป็นไร ไม่ต้องห่วง นับแต่นี้ต่อไป เมื่อพวกผมเป็นผู้ใหญ่ พวกผมจะทำให้กลับมาเหมือนเดิมแน่นอน
- ในวันที่ไฟดับ ในวันที่น้ำหยุดไหล ไม่มีสิ่งใดกลับมาสู่ภาวะปกติได้ด้วยตัวมันเอง แต่มีคนที่ไม่ยอมแพ้ อยู่ข้างนอกพยายามซ่อมแซมให้ไฟติด ให้น้ำไหล แม้กระทั่งโรงงานนิวเคลียร์มีปัญหา ก็ยังมีคนสู้กล้าตายเข้าไปเอาชนะมัน ท่ามกลางความหนาวเหน็บ และหัวใจแห่งนักสู้ จนเป็นที่ยอมรับในหัวใจนักสู้ไปทั่วโลก
- รัฐบาลญี่ปุ่น พิจารณารับการช่วยเหลือจากต่างประเทศอย่างมีระเบียบ เนื่องจากญี่ปุ่นมีการกำหนดแผนและขั้นตอนในแต่ละขั้นเอาไว้แล้วโดยลำดับ ดังนั้น การะดมเข้าพื้นที่เพื่อช่วยเหลือจากต่างชาติอย่างไม่มีกรอบการบูรณาการ ย่อมกลายเป็นการแทรกแซงและสร้างความวุ่นวายโกลาหลมากกว่าการช่วยเหลืออย่างมีประสิทธิภาพ