เพราะปัญหาจนซ้ำซาก รายได้ไม่พอรายจ่าย มันอยู่ที่โครงสร้างเศรษฐกิจมากกว่าการขึ้นค่าแรงอย่างเดียว
"ทนง พิทยะ"วิพากษ์ 300 บาท/วัน 15,000 บาท/เดือน เรื่องจิ๊บจ๊อย ไฉนไม่แตะโครงสร้าง ศก.?เมื่อวันที่ 2 ส.ค.2554 ได้มีการปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "เศรษฐกิจของไทยหลังการ
เลือกตั้ง 54 " โดย ดร.ทนง พิทยะ อดีตร.ม.ว.กระทรวงการคลังและอดีต ร.ม.ว.กระทรวงพาณิชย์ ณ สถาบันเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น
ดร.ทนงกล่าวว่า ในเรื่องของการขึ้นเงินเดือนขั้นต่ำผู้จบปริญญาตรีเป็น 15,000 บาทต่อเดือนนั้น ตนคิดว่า เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยากที่รัฐบาลจะทำ แต่เมื่อทำแล้วเกิดช็อคขึ้นในระบบเศรษฐกิจขี้นมาจะทำอย่างไร นอกจากนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นก็คือ ผู้ที่จบปริญญาตรีจะตก
งานมากขึ้น เพราะว่าเงินเดือน 15,000 ที่เพิ่มขึ้นนั้นสูงกว่าอัตรารับปริญญาตรี (ราชการ) ปกติอยู่ 30-40% เมื่อดูจากงบประมาณรัฐแล้วก็คำนวณได้ว่า รัฐจะได้คนน้อยลงไป 20-30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเป็นไปตามหลักดีมานด์-ซัพพลาย
นอกจากนี้ โดยเทคนิคของรัฐบาลแล้ว ผู้ที่เข้ามาทำ
งานราชการอาจจะไม่ได้เป็นลูกจ้างประจำ ซึ่งก็จะไม่ได้เงินเดือน 15,000 บาท ส่วนสำหรับ #Invalid slide Link#
ดร.ทนงยังได้กล่าวถึงนโยบายหาเสียงค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทว่า
"ถามว่าธุรกิจจะอยู่รอดไหม โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs ธุรกิจที่ต้องพึ่งพาเเรงงานสูงอย่างธุรกิจในภาคการเกษตร ขณะที่บริษัทใหญ่ๆนั้นรับได้ เพราะบริษัทใหญ่ใช้เครื่องจักรสูง แรงงานที่ต้องจ่ายแรงงาน 300 บาทจึงมีไม่มาก""แม้ว่ารัฐบาลจะบอกว่าจะชดเชยให้โดยการลดภาษี แต่ก็มีปัญหาคือ พวกบริษัทใหญ่ๆที่มีกำไรนั้นไม่มีปัญหาอยู่แล้ว ค่าแรง 300 บาทที่ต้องจ่ายก็มีไม่เยอะ แถมยังได้ลดภาษีอีก ความสามารถในการแข่งขันก็จะสูงขึ้น
ส่วนบริษัทเล็กๆซึ่งมักจะขาดทุนก็จะไม่ได้อะไรเลย เพราะไม่เสียภาษีอยู่แล้ว เพราะว่าทำธุรกิจขาดทุนอยู่แล้ว "
"มาดูเรื่อง 300 บาทกัน ค่าแรง 300 บาทต่อวัน ถ้าคำนวณแล้วก็จะได้ประมาณ 7,500บาทต่อเดือน สำหรับคนงานซึ่งต้องมีภรรยามีลูก (สมมติว่ามีคนเดียว) รวมเป็น 3 คน จะได้เฉลี่ยคนละ 2,500บาทตกเดือน ซึ่งตกคนละ 75 บาทต่อวัน คำถามก็คือ แล้ว 75 บาทต่อวันมันเพียงพอไหม?"
ปัญหาจริงในเรื่องค่าครองชีพแรงงานนั้นอยู่ที่โครงสร้างเศรษฐกิจ ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยไม่เคยเอื้ออำนวยให้คนจนดีขึ้นเลย งานวิจัยย้อนหลังระบุว่าค่าแรงคนไทยนั้นเติบโตเฉลี่ย 1.4 % ในขณะที่เศรษฐกิจเติบโต 4-5 % แรงงานเป็นฝ่ายเสียเปรียบในระบบเศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งการขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทยังไม่เพียงพอ ในขณะที่ภาคธุรกิจก็จะถูกกระทบกระเทือน เพราะธุรกิจเคยชินกับค่าแรงถูกๆ เคยชินกับการใช้แรงงานเป็นหลัก ไม่ได้คิดปรับปรุงวิธีการทำงาน ปรับปรุงเทคโนโลยี หรือนำเครื่องจักรมาแทนแรงงาน
"ปัญหาไม่ได้อยู่ที่ 300 บาท แต่มันอยู่ที่โครงสร้างเศรษฐกิจประเทศไทย 300 บาทหรือ 15,000 บาท เป็นเรื่องจิ๊บจ๊อยสำหรับผม มันไม่ใช่ปัญหาเศรษฐศาสตร์อย่างแท้จริง ผมมองว่ายังมีอะไรอีกมากที่ต้องทำ""ภาคเกษตรและ SMEs ในไทยนั้นใหญ่มากๆ แต่เราไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรให้แรงงานเติบโตได้ ทำให้ชาวนามีความสามารถมากขึ้นได้ เรารู้แต่ว่าเขาอยู่ไม่ได้ แต่ถามว่าทำแล้วชาวนารวยขึ้นไหม
เพราะเรื่องนี้มันอยู่ที่ปัญหาโครงสร้างภาคการเกษตร มันต้องคิดเยอะมากเลย การที่เราไปยกราคาข้าว เปลี่ยนประกันเป็นจำนำ สำหรับผมไม่ได้มีความหมายเลย ชาวนา 40 เปอร์เซ็นต์ของประเทศยังจนเหมือนเดิม นอกจากนี้ ถ้าเราไปบิดเบือนตลาด ชาวนาก็จะไม่สามารถสร้างเทคโนโลยีที่จะยกระดับประสิทธิภาพในการผลิตได้ แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย ปล่อยไปตามโครงสร้างตลาด ชาวนาก็จะพ่อค้าเอาเปรียบ ก็จะแย่ เพราะนี่เป็นโครงสร้างเศรษฐกิจที่แย่"
ดร.ทนงกล่าวถึงนโยบายที่จะลดภาษีนิติบุคคล 23 % ว่า ตนมองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องทำและต้องทำนานแล้ว โดยในอีก 4 ปีข้างหน้า ภาษีส่วนใหญ่ในเขตการค้าเสรีจะเป็นศูนย์ทั้งหมด
"ตอนนี้เรามีภาษี 30 เปอร์เซ็นต์ในขณะที่เราสร้างโรงงานอุตสาหกรรมมากมาย
เคยสงสัยไหมว่าทำไมโตโยต้าสร้างโรงงานที่ใหญ่ที่สุดขึ้นในประเทศไทย แต่ฝ่ายขายฝ่ายมาร์เก็ตติ้งของโตโยต้าไม่ได้อยู่ที่เมืองไทย แต่ไปอยู่ที่สิงคโปร์ บริษัทอื่นๆก็เหมือนกันที่ตั้งโรงงานผลิตในประเทศไทย แต่มีฝ่ายบริหารต่างๆอยู่ที่ต่างประเทศ นั่นก็เพราะโรงงานต่างๆที่มาตั้งในประเทศไทยไม่ต้องเสียภาษีเลย เพราะ BOI กำหนดให้ภาษีก่อสร้างโรงงานเป็นศูนย์ ในขณะที่นิติบุคคลต้องเสียภาษี 30 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการสะสมทุนหายไปหมด โดยเฉพาะธุรกิจเล็กๆ ผมเชื่อว่าเมื่อเรา "ลดภาษี แล้วเราจะเก็บภาษีได้มากขึ้น′" แต่ทั้งนี้ ดร.ทนงเตือนว่า การลดภาษีอย่างฉับพลันจะเป็นอันตราย ทางที่ดีควรจะต้องค่อยๆลด
ดร.ทนงได้ฝากคำแนะนำไปยังสำหรับรัฐบาลใหม่ว่า ประเทศไทยต้องเรียนรู้ที่จะอยู่กับ FTAs และใช้ประโยชน์จาก FTAs ให้ได้มากที่สุด ต้องมองไปที่การส่งออกและนำเข้า ต้องมองว่าตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียน เนื่องจากประเทศไทยนั้นเล็กเกินไปที่จะอยู่ได้ด้วยตัวคนเดียว มุ่งเน้นการแข่งขันในธุรกิจที่เราได้เปรียบ และปรับตัวให้เข้ากับตลาดโลกที่จะกลายมาเป็นตลาดเปิดภายในแต่ละภูมิภาคมากขึ้น
ประชาชาติธุรกิจ