หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: "ลดค่าครองชีพประชาชน" ด้วยการลอยตัวราคาพลังงาน...!!!  (อ่าน 217 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 11 ม.ค. 12, 14:52 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 


“พิชัย” เป่านกหวีด 16 ม.ค.นี้ เริ่มแผนปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ เลิกตรึงราคาพลังงาน ทั้งเบนซิน ดีเซล และก๊าซ ลั่นการตรึงราคาเป็นเวลายาวนานไม่เป็นผลดี ทำโครงสร้างพลังงานบิดเบือนเหมือนมาเลย์ เล็งเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ เบนซิน-แก๊สโซฮอล์ เดือนละ 1 บาท ดีเซลเดือนละ 60 สตางค์ ก๊าซหุงต้มอาจอุ้มถึงสิ้นปี แต่ภาคขนส่งฯ เก็บเดือนละ 50 สตางค์ แต่จะช่วยอุ้มเอ็นจีวีเฉพาะรถสาธารณะ คาดดีเซลทะลุ 30 บาท

นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวถึงความคืบหน้าในการปรับโครงสร้างพลังงานของประเทศ โดยยืนยันว่า ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2555 จะเดินหน้าปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ทั้งราคาน้ำมัน ราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) และก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) เพราะการตรึงราคาพลังงานในระยะยาว ไม่ได้ส่งผลดีต่อประเทศเลย สุดท้ายก็จะเกิดปัญหาเหมือนกับประเทศมาเลเซียที่มีการตรึงราคามานานจนโครงสร้างราคาพลังงานบิดเบือน

ทั้งนี้ ตามมติ กพช.กำหนดว่า วันที่ 16 มกราคม 2555 นี้ จะเริ่มการปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบ โดยการทยอยเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงคืนในส่วนน้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮอล์เดือนละ 1 บาทต่อลิตร และน้ำมันดีเซลเดือนละ 60 สตางค์ต่อลิตร ส่วนราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนจะตรึงราคาที่ 18.13 บาทต่อกิโลกรัม ต่อถึงสิ้นปี 2555 นี้ แต่ภาคขนส่งจะเริ่มทยอยปรับขึ้นเดือนละ 75 สตางค์ต่อกิโลกรัม รวมทั้งราคาเอ็นจีวีภาคขนส่งก็จะทยอยขึ้นเดือนละ 50 สตางค์ต่อกิโลกรัม เช่นกัน

นอกจากนี้ สิ้นเดือนมกราคม 2555 นี้ จะครบกำหนดมาตรการยกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 5.31 บาทต่อลิตร ก็จะเริ่มทยอยเก็บเงินสรรพสามิตน้ำมันดีเซลคืน ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหลังจากนี้จะทะลุระดับ 30 บาทต่อลิตร

นายพิชัย กล่าวว่า การช่วยเหลือผู้ประกอบการแท็กซี่เอ็นจีวีนั้น แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่สามารถใช้บัตรเครดิตพลังงานวงเงิน 3,000 บาทได้ เนื่องจากต้องรอทำใบขับขี่สาธารณะให้สามารถใช้เป็นบัตรประจำผู้ขับรถ เพื่อใช้เป็นบัตรส่วนลดวงเงิน 9,000 บาท แทนไปก่อนได้ชั่วคราว 1-2 เดือน และยังสั่งให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ศึกษาเพื่อทำบัตรเครดิตพลังงานให้ใช้สำหรับรถเอ็นจีวีสาธารณะ เช่น รถตู้ รถเมล์ และรถสามล้อเครื่อง (ตุ๊กตุ๊ก) ซึ่งคาดว่าน่าจะเสร็จทันก่อนการปรับโครงสร้างราคาพลังงานทั้งระบบในวันที่ 16 มกราคม 2555 นี้

http://www.manager.co.th/Business/ViewNews.aspx?NewsID=9550000004109

V
V
V
V
V
V
V
V
V
V
V
V
V
V
V


คลิ๊กที่นี่ ต้นทุน NGV กิโลกรัมละ 2 บาท หรือ 8.39 บาท? คำถามที่ ปตท. ไม่กล้าตอบ...???



q*021q*096q*021



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 11 ม.ค. 12, 19:19 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

คุณลำตาคองพอจะเช็คราคาขายน้ำมันของป.มาเลเซียได้หรือไม่ เพราะเคยได้ทราบว่าคนไทยที่ชายแดนภาคใต้ขับรถข้ามไปเติมน้ำมันยังประเทศเขา ได้ยินว่าราคาดีเซลลิตรละสิบกว่าบาทเองคนไทยเลยแห่ข้ามไปเติมกันมาก ไม่ทราบเป็นจริงหรือเปล่า ฝากคุณลำตาคองช่วยเช็คข้อมูลให้ด้วยหากท่านมี ขอบคุณครับ...

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 11 ม.ค. 12, 20:17 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
คุณลำตาคองพอจะเช็คราคาขายน้ำมันของป.มาเลเซียได้หรือไม่ เพราะเคยได้ทราบว่าคนไทยที่ชายแดนภาคใต้ขับรถข้ามไปเติมน้ำมันยังประเทศเขา ได้ยินว่าราคาดีเซลลิตรละสิบกว่าบาทเองคนไทยเลยแห่ข้ามไปเติมกันมาก ไม่ทราบเป็นจริงหรือเปล่า ฝากคุณลำตาคองช่วยเช็คข้อมูลให้ด้วยหากท่านมี ขอบคุณครับ...

ก่อนอื่นเราต้องมาเริ่มต้นทำความเข้าใจก่อนครับว่า "ทำไม ราคาน้ำมัน เราจึงต้องอิงราคาจากสิงคโปร์" ครับ

http://topicstock.pantip.com/ratchada/topicstock/2010/06/V9405556/V9405556.html

หลายคนสงสัยนักหนาว่า เวลาพูดถึงราคาน้ำมันทีไรต้องอ้างราคาน้ำมันที่สิงคโปร์ทุกครั้ง ทำไมสิงคโปร์ต้องสำคัญขนาดนั้น และเราจะหามาตรฐานของตัวเองที่ไม่ใช่จากสิงคโปร์ได้หรือไม่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของประเทศได้อธิบายถึงที่มาที่ไปของเรื่องนี้ ซึ่ง "คม ชัด ลึก" ขอนำเสนอเพื่อประโยชน์ในการทำความเข้าใจต่อไป

ความหมายของราคาสิงคโปร์


ราคาน้ำมันสิงคโปร์เป็นตัวเลขราคาที่ผู้ค้าน้ำมันจากประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียเข้าไปตกลงซื้อ-ขายผ่านตลาดกลางสิงคโปร์ ไม่ใช่ราคาที่ประเทศสิงคโปร์หรือโรงกลั่นในสิงคโปร์ ประกาศเพื่อซื้อขายเอง

ทั้งนี้ ตลาดซื้อ-ขายระหว่างประเทศที่เป็นแหล่งใหญ่มีเพียง 3 แห่ง คือ ตลาดนิวยอร์ก (NYMEX-New York Merchantile Exchange) ตลาดลอนดอน (IPE-International Petroleum Exchange) และตลาดสิงคโปร์ (SIMEX-Singapore Monetary Exchange)

สำหรับสาเหตุที่ทำให้สิงคโปร์เป็นตลาดกลางซื้อ-ขายน้ำมันของภูมิภาคเอเชียนั้น ประกอบด้วย

สิงคโปร์มีกำลังการกลั่นเหลือเพื่อการส่งออกมากที่สุด สิงคโปร์มีกำลังการกลั่น 1.2-1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน สามารถส่งออกได้ประมาณ 8 แสนถึง 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เมื่อเทียบกับประเทศไทยมีกำลังการกลั่นประมาณ 10.2 ล้านบาร์เรลต่อวัน แต่เหลือส่งออกประมาณ 1.7 แสนบาร์เรลต่อวัน

การกลั่นที่สิงคโปร์เป็นการกลั่นเพื่อการส่งออกที่แท้จริง ถือเป็นการกลั่นเพื่อการส่งออก เนื่องจากโรงกลั่นอื่นในเอเชีย แม้จะมีกำลังการกลั่นมากกว่าสิงคโปร์แต่ก็เป็นการกลั่นเพื่อบริโภคในประเทศเป็นหลัก เมื่อมีปริมาณเหลือจึงส่งออก การที่โรงกลั่นในสิงคโปร์กลั่นเพื่อการส่งออกเป็นหลักทำให้ราคาจำหน่ายของตลาดสิงคโปร์สะท้อนราคาส่งออกสากลที่แท้จริง และสะท้อนความสามารถในการจัดหาและสภาพความต้องการน้ำมันสำเร็จรูปของภูมิภาคเอเชีย

ทำเลที่ตั้งของสิงคโปร์เป็นเมืองท่าที่สำคัญ สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศสิงคโปร์เอื้อต่อการเป็นจุดศูนย์กลางการเดินเรือของเอเชีย เป็นจุดรับน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางและเป็นจุดกระจายน้ำมันสำเร็จรูปไปยังพื้นที่ต่างๆ ในเอเชียได้โดยสะดวก

ระบบการจัดการและสิ่งอำนวยความสะดวกเพียบพร้อม สิงคโปร์มีนโยบายการบริหารประเทศ โดยมุ่งเน้นที่จะจูงใจและอำนวยความสะดวกให้กับการลงทุน และการทำธุรกิจระหว่างประเทศเช่น ระบบบริหารราชการที่มีประสิทธิภาพสามารถติดต่อจัดตั้งหน่วยงานหรือบริษัทเพื่อทำธุรกิจได้สะดวกรวดเร็ว การมีมาตรการจัดเก็บภาษีธุรกิจในอัตราต่ำเพื่อจูงใจผู้ลงทุนสูง เป็นเหตุให้บริษัทหรือตัวแทนจากประเทศในเอเชียสามารถเข้ามาทำธุรกิจเจรจาติดต่อซื้อ-ขายผ่านตลาดสิงคโปร์ได้อย่างคล่องตัว ความเป็นสากลในเชิงธุรกิจ และความพร้อมในระบบการขนส่งทางเรือ

สาเหตุที่ต้องใช้ราคาสิงคโปร์เป็นฐานคำนวณ

สะท้อนราคาตลาดและอุปสงค์-อุปทานในภูมิภาคนี้อย่างแท้จริง เนื่องจากในตลาดกลางสิงคโปร์แห่งนี้มีผู้ซื้อ-ขายจำนวนมากจากทุกประเทศไทยในเอเชีย จึงไม่มีผู้ซื้อ-ขายรายใดรายหนึ่งสามารถเข้าไปแทรกแซงหรือปั่นราคาได้ ราคาที่ตลาดสิงคโปร์จึงเป็นราคาที่สะท้อนสภาพตลาดและสภาวะอุปสงค์อุปทานในภูมิภาคเอเชียและของตลาดโลกอย่างแท้จริง
สะท้อนต้นทุนการนำเข้าของไทยในระดับต่ำสุด ตลาดสิงคโปร์เป็นตลาดซื้อ-ขายระหว่างประเทศและเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซีย ซึ่งใกล้ไทยมากที่สุด ดังนั้น ต้นทุนในการนำเข้าจึงเป็นต้นทุนที่ถูกที่สุดที่โรงกลั่นไทยต้องแข่งขันด้วย

ขณะเดียวกัน สิงคโปร์มีระยะทางที่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด เมื่อเทียบกับตลาดน้ำมันสากลอื่น คือที่นิวยอร์กและลอนดอน หากประเทศไทยจะต้องนำเข้าน้ำมัน การนำเข้าน้ำมันจากสิงคโปร์จะมีต้นทุนต่ำสุด ดังนั้นการกำหนดราคาน้ำมันของไทยจำเป็นต้องพิจารณาจากระดับที่แข่งขันได้
ทำให้เกิดสมดุลในการผลิตและการจัดหาของประเทศ เนื่องจากประเทศไทยมีนโยบายระบบการค้าน้ำมันเสรี สามารถนำเข้า-ส่งออกได้อย่างเสรี หากไม่กำหนดราคาขึ้น-ลงไปตามตลาดสิงคโปร์ จะทำให้เกิดปัญหาไม่สมดุลในการผลิตและการจัดหาของประเทศขึ้น กล่าวคือ หากไทยกำหนดราคาของตนเองโดยรัฐเข้าไปควบคุมราคาของโรงกลั่น (ไม่ว่าจะด้วยการกำหนดให้ราคาคงที่ หรือใช้ราคาน้ำมันดิบบวกด้วยค่าใช้จ่ายคงที่) เมื่อใดที่ราคาที่กำหนดเองต่ำกว่าราคาตลาดสิงคโปร์ จะทำให้โรงกลั่นนำน้ำมันส่งออกไปขายที่ตลาดสิงคโปร์เพราะจะได้ราคาสูงกว่า ซึ่งอาจทำให้ปัญหาน้ำมันขาดแคลนในประเทศได้

และในทางกลับกัน หากเมื่อใดราคาสิงคโปร์ลดลงจนต่ำกว่าราคาที่กำหนดเอง ผู้ค้าน้ำมันในประเทศก็ไม่อยากซื้อจากโรงกลั่น เพราะนำเข้ามาจากตลาดสิงคโปร์จะถูกกว่า ซึ่งทั้งสองกรณีจะทำให้เกิดการนำเข้า-ส่งออกขึ้นโดยไม่จำเป็น ทำให้ประเทศต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการจ้างเรือขนส่งน้ำมันเนื่องจากประเทศไทยมีเรือบรรทุกน้ำมันไม่เพียงพอ
ทุกประเทศในภูมิภาคเอเชียใช้ราคาตลาดสิงคโปร์ตัวอ้างอิง ทั้งในการเจราซื้อ-ขายระหว่างประเทศ และใช้เป็นฐานการคำนวณต้นทุนราคาภายในประเทศ ส่วนการที่ราคาขายปลีกน้ำมันของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันนั้น ขึ้นอยู่กับระบบการจัดเก็บภาษีหรือการจ่ายเงินอุดหนุนของแต่ละประเทศ

การใช้ราคาน้ำมันสิงคโปร์เป็นฐานการคำนวณจึงมีผลดีมากกว่าผลเสีย


q*021q*021q*021



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 11 ม.ค. 12, 20:39 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
มาเลย์แก้ปัญหาค้าน้ำมันเถื่อน ยกเลิกใช้มาตรการควบคุมน้ำมันสั่งปรับราคาน้ำมันทุกชนิดมาเลย์



มาเลย์แก้ปัญหาค้าน้ำมันเถื่อน ยกเลิกใช้มาตรการควบคุมน้ำมันสั่งปรับราคาน้ำมันทุกชนิดมาเลย์หลังออกกฎเหล็กแก้ปัญหาลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนข้ามชาติ ไม่ได้หลังตรวจพบตลอดแนวพรมแดน4จังหวัดยังพบผู้ค้าน้ำมันเถื่อนอยู่จึงได้ยกเลิกใช้มาตราการควบคุมน้ำมันและสั่งปรับราคาน้ำมันทุกชนิด

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ด่านศุลกากรมาเลเซีย ซึ่งรับผิดชอบพื้นที่อำเภอเปิงกาลันฮูลู รัฐเปรัค ประเทศมาเลเซียซึ่งติดกับพรมแดนไทย ด้านอำเภอเบตง จังหวัดยะลา เปิดเผย ถึงความเคลื่อนไหวด้านภาวะวิกฤติน้ำมันที่มีการลักลอบค้าน้ำมันข้ามพรมแดน ในพื้นที่ 4 จังหวัดอยู่ ซึ่งได้มีผลกระทบต่อผู้บริโภคชาวมาเลเซียเอง ที่ในอนาคตอันใกล้นี้อาจจะมีน้ำมันไม่เพียงพอต่อปริมาณความต้องการ หากมีการลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนตามแนวชายแดนไทยอย่างต่อเนื่อง และ รัฐบาลเองต้องเสียเงินงบประมาณแผ่นดิน เป็นจำนวนเงินนับ100000 ล้านบาท เพื่ออุดหนุนด้านพลังงานเชื้อเพลิงให้ชาวมาเลเซียสามารถมีน้ำมันทุกชนิดใช้ในราคาถูก

ที่ผ่านมาทางการประเทศมาเลเซีย ได้พิจารณาประกาศใช้มาตรการเข้มงวดน้ำมัน ที่มีช่องโหว่ให้กลุ่มขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนไทยและชาวมาเลเซียเอง ที่ลักลอบค้ากันเป็นจำนวนมากด้านแนวพรมแดนใน4จังหวัดชายแดนภาคใต้แต่ก็ไม่สามารถที่จะสกัดกั้นได้

ซึ่งรัฐบาลมาเลเซียต้องสูญเสียเงินงบประมาณอุดหนุนไปโดยใช่เหตุ ดังนั้นทางการมาเลเซีย จึงได้แจ้งไปยังผู้ประกอบการปั๊มน้ำมันตามรัฐต่างๆ ทุกปั้มให้ปรับราคาขึ้นจากเดิมโดยน้ำมันดีเซล ลิตรละ 1615 ริงกิตปรับเป็นลิตรละ 2581 ริงกิตหรือเพิ่มขึ้น คิดเป็นเงินไทยราว 10 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 95 จากเดิมมาเลเซีย ลิตรละ 1912 ริงกิต ปรับเป็นลิตรละ 270 ริงกิต คิดเป็นเงินไทยราว 8 บาทต่อลิตร แต่อย่างไรก็ดีจากการปรับราคาน้ำมันในครั้งนี้ในอีกแนวทางหนึ่งของทางการมาเลเซียก็เพื่อสกัดการลักลอบขนน้ำมันเถื่อนข้ามประเทศ เนื่องจากก็ปรับขึ้นราคาน้ำมันครั้งนี้มีราคาใกล้เคียงของราคาน้ำมันเถื่อน ซึ่งจะทำให้แนวโน้นการซื้อขายน้ำมันเถื่อนลดลง

นอกจากนี้ หลังทางการมาเลเซียได้ประกาศยกเลิกมาตรการควบคุมราคาน้ำมันแล้ว และอนุญาตให้สถานีบริการน้ำมันปรับขึ้นราคา เพื่อให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลก ทำให้ประชาชนต่างทยอยเดินทางเข้าไปเติมน้ำมันกันเป็นจำนวนมากแต่ทางการมาเลเซียอนุญาตให้เติมคันละไม่เกิน 20 ลิตร เท่านั้น

http://www.oknation.net/blog/print.php?id=267521

นี่ปรับราคาขึ้นแล้วนะครับ ก็ยังถูก จนน่าเติม กว่าบ้านเราเยอะครับ

cocococococo

ส่วนเพื่อนๆ ท่านใดสนใจอ่าน

สรุปสถานการณ์การลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงและการแก้ไขปัญหาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

ที่นี่ครับ http://www.eppo.go.th/vrs/VRS43-06-Smugoil.html

q*021q*021q*021
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 11 ม.ค. 12, 21:26 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ต้องขอขอบคุณ คุณลำตาคองมากที่ให้รายละเอียด จนเข้าใจ แต่แปลกใจว่าเขาใช้มาตราการให้ทุกปั้มขึ้นราคาน้ำมันดีเซลขายเพียงลิตรละ 10 บาท ส่วนเบนซิล95 ขายลิตรละ 8 บาท มันแตกต่างจากของเราโดยสิ้นเชิง ขณะนี้ดีเซลขายลิตรละ29.99 บาทหลังสิ้นเดือนจะขึ้นอีก 5.31 บาทรวมเป็น 35.30 บาท แพงกว่าของมาเลเซีย 25 บาทกว่าต่อลิตร ส่วนเบนซิล95 ราคาสามสิบกว่าไม่แน่ใจ ก็แพงกว่ามาเลเซีย 20 กว่าบาทเช่นกัน มิน่าต้นทุนขนส่ง ต้นทุนสินค้าเราจึงสูง การส่งออกก็ต้นทุนสูงตามไปด้วย แล้วส่วนต่าง ยี่สิบกว่าบาทไปอยู่ที่ใครครับ ต้องถามคุณลำตาคองอีกเช่นเคย ขอบคุณครับสำหรับข้อมูลที่ให้มาสมาชิทุกท่านคงจะเข้าใจและหูตาคงสว่างขึ้นไม่มากก็น้อยครับ มีประโยชน์ต่อทุกท่านจริงๆ.....

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 11 ม.ค. 12, 22:15 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
จากเนื้อหาของข่าวท่อนนี้ ดูแล้วมีข้อที่น่าสงสัยครับ

q*021

ทุกปั้มให้ปรับราคาขึ้นจากเดิมโดยน้ำมันดีเซล ลิตรละ 1615 ริงกิตปรับเป็นลิตรละ 2581 ริงกิตหรือเพิ่มขึ้น คิดเป็นเงินไทยราว 10 บาทต่อลิตร น้ำมันเบนซิน 95 จากเดิมมาเลเซีย ลิตรละ 1912 ริงกิต ปรับเป็นลิตรละ 270 ริงกิต คิดเป็นเงินไทยราว 8 บาทต่อลิตร

เค้าน่าจะลืมใส่ "จุดทศนิยม" เพราะค่าเงิน 1615 ริงกิตมาเลเซีย=16,285.6600 บาท

เดี๋ยวผมกลับมาตอบใหม่ครับ ผมกำลังคำนวณค่าเงินอยู่ที่นี่ครับ


http://www.global-report.org/exchange/?mode=convert&amount=1615&from=MYR&to=THB&lang=th

q*021q*021q*021


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 11 ม.ค. 12, 22:28 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ผมได้คำตอบแล้วครับ q*021

ราคาเดิม ก่อนปรับราคาขึ้น ที่มาเลเซีย

น้ำมันดีเซล ลิตรละ 1.615 ริงกิต =16.2857 บาท

ปรับขึ้นเป็นลิตรละ 2.581 ริงกิต =26.0268 บาท
หรือเพิ่มขึ้น คิดเป็นเงินไทยราว 10 บาทต่อลิตร

ส่วนน้ำมันเบนซิน 95 จากเดิมมาเลเซีย ลิตรละ 1.912 ริงกิต =19.2806 บาท

ปรับขึ้นเป็นลิตรละ 2.700 ริงกิต =27.2268 บาท
หรือเพิ่มขึ้น คิดเป็นเงินไทยราว 8 บาทต่อลิตร


q*021q*096q*021

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
k542
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 12 ม.ค. 12, 02:07 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

q*021q*021q*021

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #8 เมื่อ: 12 ม.ค. 12, 11:38 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ราคาน้ำมันปรับขึ้นตามตลาดสิงค์โปร แต่ตอนราคาลงไทยเราไม่ปรับตามสิงค์โปรซ่ะงั้น ทำนิ่งไม่รู้ไม่ชี้ซ่ะอย่างนั้น ปตท. q*038

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #9 เมื่อ: 12 ม.ค. 12, 22:27 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
q*021q*021q*021


q*021q*021q*021q*021q*021q*021

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #10 เมื่อ: 12 ม.ค. 12, 22:29 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ราคาน้ำมันปรับขึ้นตามตลาดสิงค์โปร แต่ตอนราคาลงไทยเราไม่ปรับตามสิงค์โปรซ่ะงั้น ทำนิ่งไม่รู้ไม่ชี้ซ่ะอย่างนั้น ปตท. q*038

กระทรวงการคลัง ถือหุ้น ปตท. 51.49% ครับ q*021

http://www.pttplc.com/TH/investor-relations-shareholder-capital-data-shareholder-structure.aspx

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  พลังงาน ค่าครองชีพ 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม