หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: พระมหาวุฒิชัยตั้งโรงเรียนชาวนาบนสมมติฐานผิด  (อ่าน 128 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 29 ก.ย. 13, 09:26 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

พระมหาวุฒิชัยตั้งโรงเรียนชาวนาบนสมมติฐานผิด

ดร.โสภณ พรโชคชัย
sopon@thaiappraisal.org www.facebook.com/dr.sopon

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) บอกว่า “ถ้าประเทศไทยไม่ มีชาวนาเศรษฐกิจของประเทศพังทันที” จึงร่วมกันตั้งมหาวิชชาลัยพุทธเศรษฐศาสตร์ พร้อมทั้ง เปิด ร.ร.ชาวนา พุทธเศรษฐศาสตร์ สอนชาวบ้านทำเกษตรอินทรีย์ สมมติฐานข้อนี้ผิด
ในความเป็นจริง ผลผลิตจากภาคเกษตรกรรมมีสัดส่วนเพียง 11% ของ GDP ณ ปีล่าสุดคือ พ.ศ.2554 ในขณะที่ภาคการผลิตหลักคือภาคอุตสาหกรรม มีสัดส่วนสูงสุดคือ 30% และภาคการค้าส่งและค้าปลีก 15% เกษตรกรรมตกอยู่ในอันดับที่ 3 ยิ่งกว่านั้น หากอุตสาหกรรมรวมไปถึงเหมืองแร่ ไฟฟ้าประปา แก๊ส และการก่อสร้างด้วยแล้ว จะกินส่วนแบ่งใน GDP สูงถึง 38%

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) ณ พ.ศ.2554
รายการ ล้านบาท สัดส่วน
ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) 11,120,518 100%
เกษตรกรรม 1,271,524 11%
เกษตรกรรมเฉพาะปลูกข้าว 764,125 7%
อุตสาหกรรม 3,297,910 30%
การค้าส่ง-ปลีก 1,630,226 15%
ที่มา: www.nesdb.go.th/Portals/0/eco_datas/account/ni/cvm/2011/ตารางสถิติบัญชีประชาชาติ%20ปี%202554%20แบบปริมาณลูกโซ่.xls

นานมาแล้ว ภาคการเกษตรเคยเป็นเศรษฐกิจหลักเมื่อช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (พ.ศ.2494) ในขณะนั้น ภาคเกษตรกรรม เคยมีสัดส่วนใน GDP ถึง 38% ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมีสัดส่วนเพียง 13% เท่านั้น แต่ ณ ปัจจุบันกลับตาลปัตร ยิ่งหากพิจารณาเฉพาะการทำนาปลูกข้าวตามที่พระมหาวุฒิชัย อ้างถึงด้วยแล้ว ณ พ.ศ.2554 มีสัดส่วนใน GDP เพียง 7% เท่านั้น
อย่างไรก็ตามประชากรในภาคเกษตรกรรมมีเป็นจำนวนมากถึงประมาณ 41% ของประชากรทั้งหมด ในขณะที่ประชากรในภาคบริการมีสูงถึง 40% และภาคการผลิตมีเพียง 19% เท่านั้น การนี้ชี้ให้เห็นว่าผลิตภาพในภาคการเกษตรต่ำมาก ส่วนมากอาจผลิตเพียงแค่พอใช้สอย ประชากรในต่างจังหวัดส่วนมากอพยพไปทำงานในภาคการผลิตอื่นในภาคอื่น เช่น กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออกหรือในตัวจังหวัดหลักในภูมิภาค
'ความเพ้อฝัน' ที่จะให้คนชนบทกลับไปใช้ชีวิตแบบ 'คิขุอาโนเนะ' ทำนาอย่างพอเพียงจึงเป็นแค่ความฝันอันเหลือเชื่อและเป็นไปไม่ได้เลย เท่ากับส่งเสริมให้พากันไปตายในบ้านเกิดที่มีทรัพยากรจำกัด ในสมัยปัจจุบันนี้จะให้ชาวบ้านอยู่กันแบบจับกบ กับเขียด เก็บหอยตามท้องนา ยิงกระปอม (กิ้งก่า) สอยใข่มดแดงมากินกันคงไม่ได้แล้ว ประชากรก็เพิ่มขึ้นมากมาย
การที่ประชากรส่วนหนึ่งมาทำงานในเมืองหรือในภาคการผลิตอื่น ส่งเงินกลับบ้าน ทำให้ประชากรส่วนที่เหลือมีชีวิตความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ส่วนที่จะได้รับ 'สารพิษ' จากการโฆษณาชวนเชื่อเรื่องการบริโภคนิยม การนิยมวัตถุ เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลที่ต้องรู้จักมีภูมิคุ้มกัน ไม่ใช่พยายามใฝ่ฝันให้พวกเขากลับไปมีชีวิตแบบบุพกาลเช่นแต่ก่อน
ในอีกแง่หนึ่งบ้านในชนบทในก็เป็นเสมือนlสถานตากอากาศ (Resort)' สำหรับการไปพักผ่อน (Retreat) ของชาวชนบทที่มาทำงานในเมืองได้กลับไป 'ชาร์ตแบต' ในวันหยุดบ้าง อันที่จริงควรจำกัดการทำนา หรือทำให้การทำนาเป็นภาคเกษตร-อุตสาหกรรม เพื่อให้มีผลิตภาพมากขึ้น มากกว่าที่จะผลิตแบบตามมีตามเกิดและได้ผลผลิตต่ำเช่นที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้
แทนที่เราจะส่งเสริมให้คนมีนา เราน่าจะส่งเสริมให้เลิกทำนา โดยเฉพาะเอาที่นาหรือที่เกษตรกรรมในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม มาปลูกป่า และป้องกันการบุกรุกอย่างเฉียบขาด การแจกที่ดินให้คนไปทำนา จึงเป็นแนวคิดที่ผิด การซื้อที่ดินจากชาวนาโดยเฉพาะในพื้นที่บุกรุก เพื่อมาทำเป็นป่า ฟื้นฟูป่าควบคู่กับการปราบปรามการบุกรุกทำลายป่าอย่างเฉียบขาด จึงเป็นหนทางแห่งความเจริญของไทยมากกว่าการส่งเสริมให้ทำการเกษตรกรรม
ส่วนคนที่อยากทำนาปลอดสารพิษนั้น ถือเป็นเพียง Market Niche หรือช่องทางการตลาดใหม่เฉพาะกลุ่ม คือกลุ่มปัญญาชนหรือผู้มีอันจะกินที่ห่วงสุขภาพ เราสามารถทำให้สินค้าของเรามีราคาสูงกว่าทั่วไป เพราะผู้ซื้อมีกำลังซื้อสูงกว่า คู่แข่งในตลาด Niche Market มีน้อยกว่า โดยธรรมชาติแล้ว Market Niche เป็นตลาดเล็ก ๆ ที่แม้มีจุดขายที่เหนือกว่า แต่ใช่จะสามารถแทนที่ตลาดทั่วไป (Conventional) ได้
นอกจากนี้การทำ Niche Market ยังเป็นการสร้างแบรนด์ ผู้ทำย่อมได้หน้าได้ตาจากการทำดีเหนือคนอื่น ทำให้ดูดีกว่าในสังคม นักบวช ปัญญาชน คนที่ได้ชื่อว่าคนดีในสังคม มักชมชอบการทำดีในลักษณะนี้ แต่จะถือเป็นวิถีทั่วไปคงไม่ได้ การใช้ยาฆ่าแมลงเป็นอันตรายก็จริง แต่ถ้าในโลกนี้สามารถกำจัดศัตรูพืชได้โดยไม่ใช้ยาได้ทั่วไปจริง ๆ ยาพวกนี้คงไม่แพร่หลายเช่นทุกวันนี้
ในตอนท้าย พระมหาวุฒิชัย ยังกล่าววา "ตราบใดที่คนเรายังต้องกินต้องอยู่ เราต้องสอนนิพพานแห่งอาชีพควบคู่กันไปด้วย เกษตรกร ชาวนาไทยถึงจะอยู่รอดได้" คำพูดนี้ฟังดูดี แต่แปลว่าอะไร ในกรณีนี้อาจตีความได้ว่าเป็นการ 'เล่นคำ' มากกว่าสาระที่แท้จริง เราต้องยอมรับว่าโลกเปลี่ยน ประชากรมากขึ้น ทรัพยากรมีจำกัด การจะให้ใครต่อใครกลับไปทำนา ทำไร่เช่นบรรพบุรุษ คงเป็นไปไม่ได้
การฝืนความจริงให้คนกลับไปทำนา เท่ากับพากันลงเหว จึงเป็นความฝันที่เหลือเชื่อ และเชื่อไม่ได้

อ้างอิง
ข่าว "ร.ร.ชาวนาพุทธเศรษฐศาสตร์ วิถีนิพพานอาชีพเกษตร" ไทยรัฐ 27 กันยายน 2556 www.thairath.co.th/content/edu/372228
ทิศทางการทำงานของแรงงานไทย ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_lfsdirect.jsp
แรงงานเกษตรในประเทศไทย กรุงเทพธุรกิจ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/reader-opinion/20130702/514538/%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.html

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Guest
k542
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 29 ก.ย. 13, 15:19 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

ความคิดของคนที่มีอันจะกินแล้วนี่ ดูจะมองไม่เห็นหัวคนจนเลยนะ... q*070
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 29 ก.ย. 13, 20:45 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
ร่ายมายาวเลยนะ..
ผมไม่นับถือคนที่มีดีกรีเป็นดอกเตอร์สักเท่าไรนะ..เพื่อนฝูงผม ล้อมหน้าล้อมหลัง ดอกเตอร์เกือบทั้งหมด..
ฉะนั้น ดีกรีพวกที่เป็นดอกเตอร์..มีค่าเท่ากับคนสายตาสั้น ในความรู้สึกของผม..

โห๊ยยย..จี.ดี.พี..
ผมทำเรื่องนี้ของจังหวัดนครสวรรค์มาแล้ว..ผมรู้จักกระบวนการจัดเก็บ และหาบรรทัดฐาน.
อย่ามาอ้างดีกว่า..เอาศัพท์เอาแสงภาษาอังกฤษมาโอ่หรือเปล่า..หากคนไม่รู้ ไม่เคยสัมผัสงานอย่างว่า..ก็อย่าเอาคำพูด หรือหนังสือที่คนเขียน ไม่มีความเข้าใจอะไร ในนิสัย และพฤติกรรมของชาวนา..

นิสัยพ่อค้า หรือจะมาอวดดีกับคนใช้แรงกายเลี้ยงคน..

พระท่านว่า ข้าวเนี้ย เ)็นชีวิตของคน..พระท่านอยากให้คนรู้จักการทำนา..และท่านก็ชวนให้ทำ หาที่ หาทุนให้ลง

สัญชาติขี้ข้า..ริอยากจะเป็นเทวทัตในยุค3จี...
มองเห็นความตั้งใจดีของพระเป็นเรื่องน่าขบขัน..

พวกนรกกินกบาล..
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 4 ต.ค. 13, 21:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
เพิ่มเติมหน่อยนะ เรื่องการเก็บข้อมูล จีดีพี..ผมทำสมัยท่าผู้ว่า พีระพล ไตรศาวิทย์(ไม่แน่ใจว่านามสกุลของท่านเขียนถูกไหม)
แต่ตัวผู้ว่าไม่รู้จักผมหรอก..แต่ผมรับงานจากผู้บังคับฯเลยมีประสบการณ์..
ผู้ว่าฯคนนี้ ที่ผมพูดถึง เป็นอัจฉริะก็ว่าได้ ผมเข้าใจในการปฏิบัติราชการเพื่อผลประโยชน์ได้มากขึ้น มีประสิทธิภาพมาก และเ็นปรพะโยชน์ต่อประเทศชาติ
การเลือกใช้งานคน ผมรู้สึกนับถือแม้วมากเลยครับ.แต่ผมขอมีแต่..แต่ไม่ใช่หมายถึงตะกวดน้ำที่เอาเสื้อแดงไปผูกขาดนะครับ..

แม้วรู้จักยอดฝีมือได้อย่างไร..ทำอย่างไรแม้วจึงใช้ยอดฝีมือทำงานให้..

คนเรา ไม่รู้จักหาข้อดีของคน มาพิจารณาแล้วเลือกนำมาใช้..

เอาปัญญาของแม้วมาโมดิฟายส์ แต่อย่าเอาอย่างนิสัย และสันดอนมาก็แล้วกัน..
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  สมมติฐาน ผิด ชาวนา 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม