หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: 15 เมษายนนี้ จันทรุปราคาเต็มดวง  (อ่าน 881 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 12 เม.ย. 14, 18:24 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

15 เมษายนนี้ จันทรุปราคาเต็มดวง
รูปภาพ : 15 เมษายนนี้ จันทรุปราคาเต็มดวง



หากคุณอาศัยอยู่ที่อเมริกาเหนือแล้วล่ะก็ คุณจะมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงในเช้าตรู่วันที่ 15 เมษายน 2557 จันทรุปราคาคือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์, โลก และดวงจันทร์ เคลื่อนที่มาอยู่ในแนวระดับเดียวกันพอดี เป็นโอกาสดีขึ้นชาวอเมริกาเหนือเพราะครั้งต่อไปจะเกิดในปี 2019

สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ กับ เนกซ์ สเตป www.nextsteptv.com

หากคุณอาศัยอยู่ที่อเมริกาเหนือแล้วล่ะก็ คุณจะมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาเต็มดวงในเช้าตรู่วันที่ 15 เมษายน 2557 จันทรุปราคาคือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อดวงอาทิตย์, โลก และดวงจันทร์ เคลื่อนที่มาอยู่ในแนวระดับเดียวกันพอดี เป็นโอกาสดีขึ้นชาวอเมริกาเหนือเพราะครั้งต่อไปจะเกิดในปี 2019


สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ กับ เนกซ์ สเตป
www.nextsteptv.com

จันทรุปราคาเต็มดวง 15 เมษายน 2557

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 15 เมษายน 2557อุปราคาครั้งแรกของปีเป็นจันทรุปราคาเต็มดวง เกิดขึ้นในเวลากลางวันของวันอังคารที่ 15 เมษายน ตามเวลาประเทศไทย จันทร์เพ็ญอยู่ด้านกลางคืนของโลก เราจึงไม่สามารถสังเกตได้ พื้นที่บนโลกที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้คืออเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ มหาสมุทรแอตแลนติก

บางส่วนทางด้านตะวันตกของยุโรปและแอฟริกา ญี่ปุ่น ด้านตะวันออกของออสเตรเลีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ดวงจันทร์ปรากฏอยู่ใกล้ดาวรวงข้าวในกลุ่มดาวหญิงสาว และจะเห็นดาวอังคารสุกสว่างอยู่ห่างดวงจันทร์ประมาณ 10

ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก 11:53:37
เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน 12:58:19
เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง 14:06:46
กึ่งกลางของปรากฏการณ์ 14:45:39
สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง 15:24:35
สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน 16:33:03
ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 17:37:36
จันทรุปราคาครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 56 ใน 74 ครั้ง ของซารอสที่ 122 ซึ่งดำเนินอยู่ระหว่าง ค.ศ. 1022-2338 ประกอบด้วยจันทรุปราคาเงามัว 22 ครั้ง บางส่วน 8 ครั้ง เต็มดวง 28 ครั้ง บางส่วน 7 ครั้ง และเงามัว 9 ครั้ง ตามลำดับ จันทรุปราคาเต็มดวงครั้งที่นานที่สุดของชุดซารอสนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 ตุลาคม ค.ศ. 1707 นาน 1 ชั่วโมง 40.1 นาที


ที่มา: http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/eclipses/2014eclipses.html


เครดิต โพสจัง

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

add
เรทกระทู้
« ตอบ #1 เมื่อ: 12 เม.ย. 14, 18:37 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

รูปภาพ : 15 เมษายนนี้ จันทรุปราคาเต็มดวง



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #2 เมื่อ: 12 เม.ย. 14, 18:38 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

รูปภาพ : 15 เมษายนนี้ จันทรุปราคาเต็มดวง



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
K.Don
เรทกระทู้
« ตอบ #3 เมื่อ: 12 เม.ย. 14, 21:01 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
555
"DON... พ่อทุกสถาบัน"
จะได้เวลาแปลงร่างแล้ว เย้ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ q*073q*033
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #4 เมื่อ: 12 เม.ย. 14, 22:58 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

จะแปลงร่างเป็นมนุษย์ค้างคาวหรือคุณดอน...

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Guest
K.Don
เรทกระทู้
« ตอบ #5 เมื่อ: 13 เม.ย. 14, 09:12 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 
จะแปลงร่างเป็นมนุษย์ค้างคาวหรือคุณดอน...
ขำๆครับ คุณ destinygoal
แปลงร่างเป็นมนุษย์ค้างคาวอ่ะเก่าเกิ๊น
รุ่นผมมันต้อง
Benten Ultimate Alien cocococococo
noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #6 เมื่อ: 13 เม.ย. 14, 18:57 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

q*062q*062

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
add
เรทกระทู้
« ตอบ #7 เมื่อ: 14 เม.ย. 14, 11:04 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
 

สดร. ชวนดูดาวอังคารโคจรใกล้โลก 14 -15 เม.ย. นี้



สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เชิญชวนชมดาวอังคารโคจรเข้าใกล้โลกมากที่สุดในรอบ 7 ปี ระหว่างวันที่ 14 - 15 เม.ย. นี้ ขณะที่ อ.เก่งกาจ จงใจพระ นักโหรศาสตร์คนดัง ระบุประทศไทยอาจเกิดเหตุร้ายรุนแรงควบคุมไม่ได้ มีเรื่องวุ่นวาย แต่ก็ยังอยู่รอด

ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดารา ศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือ สดร. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ในคืนวันที่ 14 เม.ย. จนถึงเช้าวันที่ 15 เม.ย. นี้ จะสามารถมองเห็นดาวอังคารสุกสว่างส่องประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้ามีความสว่างมากกว่าปกติ เนื่องจากดาวอังคารและโลกเข้าใกล้กันมากที่สุดในรอบ 7 ปี ที่ระยะห่าง 92.39 ล้านกิโลเมตร ประชาชนที่สนใจสามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า หากใช้กล้องโทรทรรศน์ขนาดเล็กจะเห็นขั้วน้ำแข็งและลักษณะพื้นผิวดาวอังคารได้

นอกจากนี้ ดร.ศรัณย์ กล่าวต่อว่า การที่มองเห็นดาวอังคารส่องประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้า เนื่องจากพื้นผิวของดาวอังคารมีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นเหล็กออกไซด์ จึงมักเรียกฉายาของดาวอังคารว่า "ดาวเคราะห์สีแดง" ซึ่งจะโคจรใกล้โลกทุก 2 ปี และมีคาบการโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามกับดวงอาทิตย์ ซึ่งทั้งดาวอังคาร โลก และดวงอาทิตย์จะเรียงอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลาง ทั้งนี้ดาวอังคารจะโผล่พ้นจากขอบฟ้าคืนวันที่ 14 เม.ย. ตั้งแต่เวลา 18.02 น. ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ในกลุ่มดาวหญิงสาว โดยอยู่ด้านซ้ายของดวงจันทร์ หากสังเกตช่วงเช้ามืดวันที่ 15 เม.ย. จะมองเห็นดาวอังคารปรากฏอยู่สูงจากขอบฟ้าทางทิศตะวันตก ครั้งล่าสุดที่โคจรใกล้โลกคือวันที่ 5 มี.ค. 55 และจะใกล้โลกที่สุดครั้งต่อไปวันที่ 31 พ.ค. 59 ทั้งนี้สมาคมดาราศาสตร์ไทยจะตั้งกล้องดูดาวส่องดูขั้วน้ำแข็งดาวอังคารใกล้โลกในวันดังกล่าวด้วยเวลา 18.00- 21.00 น. หน้าอาคารศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (บริเวณท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) ผู้สนใจร่วมกิจกรรมฟรี

ด้าน อ.เก่งกาจ จงใจพระ นักโหรศาสตร์คนดัง กล่าวว่า ช่วงนี้ดาวอังคารอยู่ในราศีกันย์ทำมุมเล็งกับดาวมฤตยูที่อยู่ในราศีมีน ทำให้ดาวอังคารเดินพักรเดินถอยหลังเดินเป๋ ทำให้เกิดเหตุร้ายรุนแรงควบคุมไม่ได้ ทั้งนี้ทางโหรศาสตร์และดาวอังคารนั้นเป็นดาวที่เกี่ยวกับอุบัติเหตุ การทะเลาะวิวาท การฆ่าจู่โจมทำลายล้างกันด้วยอาวุธ ดาวแห่งความขัดแย้ง เพราะฉะนั้นให้ระวัง ทั่วโลกจะเกิดการขัดแย้ง ทะเลาะวิวาทใช้กำลัง อาวุธเข้าทำลายล้างกัน ส่วนในประเทศไทยยังดีที่มีดาวพลูโตที่อยู่ในราศีธนูเป็นมหาอุจจ์ ทำให้ดวงเมืองยังแข็ง หลังสงกรานต์อาจจะมีเรื่องวุ่นวาย แต่ประเทศไทยก็ยังอยู่รอด และให้ระวังเรื่องของการเสียชีวิตและทรัพย์สินที่เกิดจากอุบัติเหตุร้ายแรง การทำร้ายฆ่ากัน และภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกิดจากลม

ติดตามข่าวด่วน เกาะกระแสข่าวดัง บน Facebook คลิกที่นี่!!



noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า
Tags:  จันทรุปราคาเต็มดวง นี้ เมษายน 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม