หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: การให้ตั้งบริษัทน้ำมันแห่งชาติ  (อ่าน 32 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 24 มิ.ย. 15, 14:15 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

มนูญ ศิริวรรณ
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านพลังงาน
ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา มีการพิจารณารายงานการศึกษาของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติปิโตรเลียม พ.ศ.2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม พ.ศ.2514

โดยมีข้อเสนอที่สำคัญคือ การให้ตั้งบรรษัทน้ำมันแห่งชาติ (National Oil Company) ให้มีฐานะเป็นตัวแทนของรัฐ ดำเนินการเกี่ยวกับการให้สิทธิ การสำรวจและผลิตปิโตรเลียมอย่างเบ็ดเสร็จและครบวงจร คณะกรรมาธิการได้เสนอให้มีการตรากฎหมายในระดับพระราชบัญญัติ ให้บรรษัทน้ำมันแห่งชาติเป็นผู้มีสิทธิเพียงรายเดียวในการสำรวจและให้สิทธิเกี่ยวกับปิโตรเลียม ในการดำเนินการบริหารจัดการปิโตรเลียมและการบังคับบริษัทเอกชนในฐานะคู่สัญญา

นอกจากนั้นยังกำหนดให้บรรษัทน้ำมันแห่งชาติมีสภาพนิติบุคคลและมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ แต่ไม่เป็นส่วนราชการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ เพื่อให้การบริหารจัดการสัญญาที่เกี่ยวกับปิโตรเลียมไม่อยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการพัสดุของส่วนราชการ หรือกฎหมายว่าด้วยการให้เอกชนร่วมลงทุนกับรัฐ

บรรษัทน้ำมันแห่งชาติ จะเป็นผู้ถือสิทธิทรัพยากรปิโตรเลียมแทนรัฐในการสำรวจและแสวงหาประโยชน์จากปิโตรเลียม ควบคุมดูแลระบบการสำรวจและแสวงหาประโยชน์ในปิโตรเลียมทั้งหลาย และมีหน้าที่ในการบริหารสัญญาสัมปทาน สัญญาแบ่งปันผลผลิต และสัญญาจ้างผลิต

หากพิจารณาตามข้อเสนอดังกล่าว จะเห็นได้ว่าได้มีการรวมเอาบทบาทของทางราชการในฐานะผู้ให้สิทธิการสำรวจ ผู้กำกับดูแล และผู้ปฏิบัติการเอาไว้ในองค์กรเดียวกัน ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องตามหลักธรรมาภิบาลและการจัดการที่ดี นอกจากนั้นองค์กรดังกล่าวยังเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของชาติเป็นจำนวนเงินมากมายมหาศาล ปีหนึ่งไม่ต่ำกว่า 500,000 ล้านบาท

คำถามคือ การบริหารจัดการองค์กรดำเนินการอย่างไร โดยใคร ตรวจสอบอย่างไร มีความโปร่งใสแค่ไหน ที่มาของผู้บริหารเป็นอย่างไร ประสิทธิภาพขององค์กรจะวัดกันอย่างไร รายงานต่อใครและรับผิดชอบต่อใคร

ซึ่งผมเชื่อว่าในประวัติศาสตร์ของการบริหารจัดการองค์กรภาครัฐ องค์กรที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จในตัวเองมากขนาดนี้ ใหญ่โตขนาดนี้ มีผลประโยชน์มากมายขนาดนี้ น่าจะยังไม่เคยมีมาก่อน และไม่น่าเชื่อว่าจะบริหารงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นี่พูดกันแค่เรื่องของการบริหารจัดการองค์กรเท่านั้นนะครับ ยังไม่ได้พูดกันถึงเรื่องของหลักการว่า การมีบรรษัทน้ำมันแห่งชาติมาดูแลการจัดการทรัพยากรปิโตรเลียมของชาติเบ็ดเสร็จแบบนี้เป็นเรื่องเหมาะสมหรือไม่

จะทำให้เสียบรรยากาศการลงทุนและเกิดการผูกขาดโดยภาครัฐหรือไม่
ซึ่งในหลายประเทศพบว่า บรรษัทน้ำมันแห่งชาติบริหารงานไม่มีประสิทธิภาพ ประสบความล้มเหลว และเป็นบ่อเกิดของการคอร์รัปชัน

ดังนั้น ผมจึงวิตกว่าคณะกรรมาธิการพลังงาน สนช. กำลังจะเสนอให้มียักษ์ในตะเกียงวิเศษตัวใหม่ขึ้นมา ซึ่งถ้าบริหารหรือควบคุมไม่ดีก็จะสร้างปัญหาและผลเสียอย่างมหาศาลให้กับวงการพลังงานของประเทศ

จึงอยากเตือนให้ระวังให้ดี เพราะถ้าเผลอปล่อยยักษ์ตัวนี้ออกจากตะเกียงเมื่อไร แล้วมันไม่ยอมกลับเข้าไป

จะมาหาว่าผมไม่เตือนไม่ได้นะครับ!!!.

อ่านต่อได้ที่ : http://www.ryt9.com/s/tpd/2188059

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:  น้ำมัน 

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม