หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: KPMG เผยบริษัททั่วโลกจำเป็นต้องยกเครื่องการจัดทำรายงานข้อมูลคาร์บอน  (อ่าน 48 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 8 ธ.ค. 15, 09:33 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

ปารีส--3 ธ.ค.--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

การวิจัยระดับโลกพบว่า รายงานการเงินประจำปีและรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทต่างๆ ยังขาดข้อมูลสำคัญบางประการ

การออกแนวทางปฏิบัติระดับโลกอาจช่วยจัดการกับแนวทางที่ไม่สอดคล้องกันของแต่ละบริษัท

ผลการสำรวจ KPMG Survey of Corporate Responsibility Reporting ประจำปี 2558 พบว่า การจัดทำรายงานข้อมูลคาร์บอนของบริษัทรายใหญ่ของโลกนั้นขาดความสอดคล้อง ซึ่งแทบจะทำให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียไม่สามารถเปรียบเทียบการดำเนินงานของบริษัทหนึ่งกับอีกบริษัทหนึ่งได้อย่างสะดวกและแม่นยำ

ผู้เชี่ยวชาญของบริษัทในเครือ KPMG ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลคาร์บอนที่เผยแพร่โดยบริษัทรายใหญ่ 250 แห่งของโลก (G250) ในรายงานการเงินประจำปีและรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งพบว่า แม้บริษัท 4 ใน 5 แห่งได้กล่าวถึงข้อมูลคาร์บอนในรายงานดังกล่าว แต่ประเภทและคุณภาพของข้อมูลที่รายงานนั้นแตกต่างกันอย่างมาก

ยกตัวอย่างเช่น ในบรรดาบริษัท G250 มีเพียงครึ่งหนึ่ง (53%) ที่ระบุเป้าหมายการปรับลดคาร์บอนในรายงานของตน และบริษัทถึงสองในสามในจำนวนนี้ไม่ได้ชี้แจงถึงเหตุผลที่เลือกเป้าหมายดังกล่าว

ประเภทของข้อมูลการปล่อยมลพิษในรายงานนั้นมีความแตกต่างเป็นอย่างมากเช่นกัน โดยถึงแม้ว่าบริษัทส่วนใหญ่ได้รายงานถึงการปล่อยมลพิษจากการดำเนินงานของตน (84%) และจากพลังงานที่ตนซื้อมา (79%) แต่มีบริษัทเพียงครึ่งหนึ่ง (50%) ที่รายงานข้อมูลการปล่อยมลพิษในห่วงโซ่อุปทานของตน ยิ่งไปกว่านั้น มีบริษัทไม่ถึงหนึ่งในสิบ (7%) ที่ระบุถึงข้อมูลการปล่อยมลพิษจากการใช้และกำจัดผลิตภัณฑ์และบริการของตน

นอกจากนี้ ในบรรดาบริษัทที่กล่าวถึงข้อมูลคาร์บอนในรายงานของตนนั้น ประมาณครึ่งหนึ่ง (51%) ได้แนะให้ผู้อ่านรับชมรายละเอียดเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลเสริม เช่น ฐานข้อมูล CDP สำหรับนักลงทุน ขณะที่อีกครึ่งหนึ่งไม่ได้ให้ข้อมูลอ้างอิงแต่อย่างใด

นายวิม บาร์เทลส์ หุ้นส่วนที่ KPMG ในเนเธอร์แลนด์ และหัวหน้าฝ่าย Sustainability Reporting & Assurance ของ KPMG เป็นหัวหน้าคณะผู้จัดทำรายงานการสำรวจของ KPMG โดยเขากล่าวว่า:

"ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกรายควรได้รับโอกาสในการเข้าถึงข้อมูลด้านคาร์บอนของบริษัทหนึ่งๆ ที่มีคุณภาพและสามารถเปรียบเทียบได้อย่างรวดเร็วและสะดวก จากรายงานการเงินประจำปีหรือรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมของบริษัทนั้นๆ ซึ่งปัจจุบันเห็นได้ชัดว่ายังไม่เกิดขึ้นจริง"

"ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการปรับปรุง ซึ่งการออกแนวทางปฏิบัติด้านการจัดทำรายงานข้อมูลคาร์บอนระดับโลกนั้นจะสามารถช่วยแก้ไขปัญหานี้ได้ และไม่ควรทิ้งปัญหานี้ไว้ให้ภาคธุรกิจจัดการอยู่ฝ่ายเดียว เพราะองค์กรอุตสาหกรรม หน่วยงานกำกับดูแล ผู้กำหนดมาตรฐาน นักลงทุน และฝ่ายอื่นๆ ล้วนแล้วแต่มีบทบาทในเรื่องนี้"

การวิจัยของ KPMG เป็นไปตามข้อเสนอเมื่อไม่นานมานี้ที่ทาง Financial Stability Board ได้ยื่นต่อกลุ่ม G20 ให้มีการตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจเพื่อพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศของบริษัทต่างๆให้มีความสอดคล้องกัน เพื่อช่วยให้ผู้ให้กู้ยืม ผู้รับประกัน ผู้ลงทุน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียรายอื่นๆ สามารถเข้าใจถึงความเสี่ยงที่สำคัญ [1] นอกจากนี้ทาง Climate Standards Disclosure Board (CDSB) ยังได้เปิดตัวกรอบการทำงานที่มีเป้าหมายเพื่อช่วยให้บริษัทต่างๆสามารถระบุข้อมูลด้านสภาพภูมิอากาศที่มีความเกี่ยวข้องกับนักลงทุนในการจัดทำรายงานข้อมูลการเงินของตน [2]

การวิจัยของ KPMG นำเสนอแนวทางปฏิบัติในแง่ของข้อมูล เป้าหมาย และการสื่อสาร ซึ่งบริษัทในเครือของ KPMG เชื่อว่า บริษัทต่างๆควรปฏิบัติตามเมื่อมีการเปิดเผยข้อมูลด้านคาร์บอนในรายงานการเงินประจำปีและรายงานความผิดชอบต่อสังคม

คณะนักวิจัยของ KPMG ได้คิดค้นวิธีการให้คะแนนตามแนวทางปฏิบัติเหล่านี้ ซึ่งนักวิจัยได้ใช้เพื่อประเมินคุณภาพของการรายงานข้อมูลจากบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดของโลก 250 แห่ง ผลการค้นพบที่สำคัญประกอบไปด้วย:

- 1 ใน 5 ของบริษัทรายใหญ่ซึ่งทำธุรกิจในอุตสาหกรรมที่มีการใช้คาร์บอนในปริมาณมาก เช่น เหมืองแร่ การก่อสร้าง และสารเคมี ไม่ได้ระบุถึงข้อมูลคาร์บอนในรายงานการเงินประจำปีหรือรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม
- บริษัทในยุโรปมีคุณภาพในการรายงานข้อมูลมากกว่าบริษัทในภูมิภาคอื่นๆของโลก
- เมื่อแยกตามประเภทอุตสาหกรรมแล้ว บริษัทในภาคการขนส่งและสันทนาการมีคุณภาพในการรายงานข้อมูลสูงสุด ขณะที่ภาคน้ำมันและก๊าซมีคุณภาพต่ำสุด
- ในบรรดาบริษัทที่รายงานข้อมูลคาร์บอนในรายงานการเงินประจำปีหรือรายงานความรับผิดชอบต่อสังคมนั้น มีเพียงครึ่งหนึ่งที่อธิบายถึงผลประโยชน์ทางธุรกิจจากการปรับลดการใช้คาร์บอน

แนวโน้มทั่วโลกในการจัดทำรายงานความรับผิดชอบต่อสังคม

ผลการสำรวจ KPMG Survey of Corporate Responsibility Reporting ประกอบไปด้วยมุมมองที่มีต่อแนวโน้มทั่วโลกในการจัดทำรายงาน CR ซึ่งอ้างอิงจากการวิเคราะห์ข้อมูลในรายงานของบริษัท 4,500 แห่งใน 45 ประเทศ

การสำรวจแสดงให้เห็นว่า อัตราการรายงาน CR ในเอเชียแปซิฟิกปัจจุบันสูงกว่าในยุโรปหรือทวีปอเมริกา (บริษัทในเอเชียแปซิฟิก 79% มีการจัดทำรายงาน CR)

สำหรับประเทศที่มีอัตราการรายงาน CR สูงสุดได้แก่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และแอฟริกาใต้ ซึ่งได้รับแรงขับเคลื่อนจากการกำกับดูแลของรัฐบาล หรือไม่ก็จากตลาดหลักทรัพย์

นอกจากนี้ การวิจัยดังกล่าวยังแสดงให้เห็นว่า ปัจจุบันข้อมูล CR ถือเป็นแนวทางปฏิบัติมาตรฐานในภาคธุรกิจ ซึ่งจำเป็นต้องมีการกล่าวถึงในรายงานการเงินประจำปี โดยกว่าครึ่งหนึ่ง (56%) ของบริษัท 4,500 รายในการวิจัยครั้งนี้ได้มีการดำเนินการดังกล่าวจริง

เกี่ยวกับรายงานฉบับนี้

การสำรวจ KPMG Survey of Corporate Responsibility Reporting ได้จัดทำขึ้นเป็นครั้งที่ 9 แล้ว หลังจากที่ได้จัดทำเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2536 การวิจัยดังกล่าวดำเนินการโดยเหล่าผู้เชี่ยวชาญตามบริษัทที่เป็นสมาชิก KPMG โดยได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลที่บริษัทต่างๆได้เปิดเผยต่อสาธารณะในรายงานความรับผิดชอบภาคองค์กร ตลอดจนรายงานการเงินประจำปี และเว็บไซต์ของตน

สำหรับบริษัทรายใหญ่ของโลก 250 แห่งในการสำรวจประจำปี 2558 นี้ อ้างอิงตามการจัดอันดับ Fortune 500 ประจำปี 2557[3] ส่วนแนวโน้มการรายงานข้อมูล CR ทั่วโลกนั้น มาจากการศึกษารายงานของบริษัทที่มีรายได้สูงสุด 100 แห่งใน 45 ประเทศ

สามารถรับชมข้อมูลเพิ่มเติมและดาวน์โหลดรายงานได้ทาง www.kpmg.com/crreporting


noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม