ถ้าหากย้อนกลับไปสักประมาณ 10 ปีที่แล้ว ประเทศไทยกับโลกดิจิตอลเทคโนโลยียังเหมือนเป็นเด็กน้อยวัยเตาะแตะ เริ่มตั้งไข่กันอยู่เลย ต้องยอมรับว่าสังคมยุคปัจจุบันนั้นเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และนับวันก็ยิ่งแคบลงแต่เครือข่ายการติดต่อสื่อสารทางข้อมูลกับกว้างขวานไร้ขอบเขต เข้าถึงไดง่ายขั้น
และใครเลยจะคิด เราก็จะมาถึงจุดนี้ได้เหมือนกัน
ในตอนแรก ระบบ Mobile Payment คนไทยไม่ค่อยให้ความเชื่อใจนัก แต่หลังจากการแทนคนในสังคมด้วยเจนเนอเรชั่นใหม่ๆมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาการของระบบเครือข่าย ความปลอดภัย และการพัฒนาให้ง่าย
การก้าวเข้ามาของ Mobile Payment จึงเริ่มมีบทบาทมาขึ้นเรื่อยๆ จนทุกวันนี้ แม้แต่การไปซื้อของ 7/11 ก็สามารถจ่ายผ่าน มือถือได้ หากการใช้บริการ ซื้อสินค้า การติดต่อสารใด ที่ไม่สามารถจัดการผ่านระบบไร้สายหรือไม่สามารถออนไลน์ได้จะถูกเหมารวมว่า โบราณ และไม่คล่องตัว
ในปี 2558 การใช้ e-wallet ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์แตะระดับผู้ใช้ 3 ล้านราย และมีรายงานความนิยมเพิ่มขึ้น 14% และรายงานจบช่วงไตรมาสแรก อยู่ที่ 8.457 ล้านราย เพียงแต่ตัวเลขที่แสดงขึ้นมาก็ไม่ได้หมายถึงผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้น บางครั้งหมายถึงการเพิ่มจำนวน Wallet ของผู้ใช้งานเพื่อดำเนินการบางกิจกรรมที่ไม่ต้องการใช้ร่วมกับกระเป๋าหลักเพื่อความปลอดภัย
ในแง่ของการซื้อสินค้าออนไลน์ คนไทยซื้อสินค้าออนไลน์ผ่านe-walle tเพิ่มขึ้น จาก 6.8%ในปี57 เป็น 7.6% ในปี 58
จากการสำรวจด้านการตลาด การบริภาคอุปโภคของบริษัทเอกชนแห่งนึง ในปี 2559 เปิดเผยว่า กลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศไทย มีอัตราการใช้งาน e-Wallet เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะสามารถอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการซื้อสินค้าดิจิทัล เช่น แอพพลิเคชั่น บนแอพสโตร์ และกูเกิลเพลย์ รวมถึงช้อปสินค้าออนไลน์บน e-Commerce เนื่องจากสินค้าและบริการเหล่านี้จำเป็นต้องใช้บัตรเครดิต แต่จำนวนผู้ถือบัตรเครดิตคิดเป็นสัดส่วนต่ำว่า 10% ของจำนวนประชากรในอาเซียนที่มีกว่า 600 ล้านคน ซึ่งในประเทศไทยมีจำนวนผู้ถือบัตรเครดิตเพียง 10 ล้านรายเท่านั้น ดังนั้น สำหรับประเทศไทยซึ่งเป็นตลาดที่ผู้บริโภคมีความเข้าใจสินค้าประเภทนี้แล้ว จึงเป็นโอกาสที่ e-Wallet จะเติบโตขึ้นอีกมากในปีนี้
มีทางเป็นไปได้ว่า ในอนาคตประเทศไทย น่าจะลดบทบาทการใช้เงินสดลง แต่ที่แน่นอนตามเมืองใหญ่ๆหรือเมืองท่องเที่ยว e-Wallet จะต้องเป็นหนึ่งในตัวเลือกๆของการชำระค่าสินค้าหรือบริการ

นายอภินันท์ ดาบเพ็ชร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ บริษัท ทรูมันนี่ จำกัด กล่าวว่า จากการสำรวจพฤติกรรมคนไทยพบว่า กลุ่มคนที่นิยมซื้อสินค้าดิจิทัลสูงที่สุด เป็นกลุ่มเด็กนักเรียน วัยรุ่น และวัยเริ่มต้นทำงาน เพศชาย อายุ 13-22 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ยังไม่มีบัตรเครดิต แต่นิยมซื้อแอพพลิเคชั่นต่าง ๆ บนออนไลน์ มีความถี่ในการซื้อเฉลี่ย 4 ครั้งต่อคนต่อเดือน และส่วนใหญ่จะซื้อแอพพลิเคชั่นเกม และไอเทมในเกม ( in-app purchase ) ในราคาประมาณ 3-5 เหรียญ หรือ 100-180 บาท ทรูมันนี่ วอลเล็ต จึงเข้ามาตอบโจทย์ในส่วนนี้ เพราะสามารถใช้กระเป๋าเงินทรูมันนี่ วอลเล็ต ในการผูกบัญชีแทนบัตรเครดิตได้ ไม่ว่าจะเป็น การซื้อแอพพลิเคชั่นบนแอพสโตร์หรือกูเกิลเพลย์ การซื้อสินค้าในเว็บไซต์ การผูกบัญชีทรูมันนี่ วอลเล็ตเข้ากับบัญชี PayPal ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มช่องทางการชำระเงินที่ให้กับผู้ที่ไม่มีบัตรเครดิตแล้ว ระบบยังมีความปลอดภัย ที่สามารถสั่งเปิด-ปิดการใช้งานบัญชีทรูมันนี่ได้อย่างง่ายดาย และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายได้ เพราะเงินจะถูกลิมิตให้ใช้ตามจำนวนที่เติมเข้าไปในบัญชีทรูมันนี่ วอลเล็ตเท่านั้น
