หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: ENVIROTEK มุ่งบุกเบิกพลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  (อ่าน 53 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 10 มี.ค. 17, 13:37 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ENVIROTEK ร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญจากนานาประเทศ ได้ประสบความสำเร็จในการติดตั้งกังหัน SCHOTTEL Instream Turbine (SIT) ในน่านน้ำบริเวณ Sentosa Boardwalk ของสิงคโปร์ เพื่อแสดงศักยภาพของพลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลง โดย ENVIROTEK บริษัทสิงคโปร์ที่มุ่งลงทุนในเทคโนโลยีสะอาด มีความปรารถนาที่จะเป็นผู้บุกเบิกโครงการพลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

http://photos.prnasia.com/prnvar/20170309/8521701541-a

Jefferson Cheng ประธานและผู้ก่อตั้ง ENVIROTEK Pte Ltd. กล่าวว่า "การสาธิตครั้งนี้แสดงถึงการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในสถานที่อันเหมาะสม เพื่อรองรับความต้องการด้านพลังงานในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราตั้งใจพัฒนาโครงการที่อาศัยพลังงานหมุนเวียนทางทะเล อันเป็นทรัพยากรที่ยังไม่ถูกนำมาใช้อย่างเต็มประสิทธิภาพในภูมิภาคนี้"

แพลตฟอร์มพลังงานหมุนเวียนแบบลอยน้ำนี้ มีเป้าหมายเพื่อรองรับการใช้งานของคนในพื้นที่ (เช่น พื้นที่ชายฝั่งหรือเกาะ) ซึ่งจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นด้านพลังงาน เพิ่มความหลากหลายในการใช้งาน และลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล ทั้งยังเป็นการแสดงศักยภาพของพลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลง รวมถึงศักยภาพในการป้อนกระแสไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ทั้งสะอาดและปลอดภัยให้แก่ชุมชนบนเกาะและตามชายฝั่ง

Dr. Michael Lochinvar Sim Abundo กรรมการผู้จัดการของ OceanPixel Pte Ltd กล่าวว่า ปัจจุบันพลังงานหมุนเวียนจากมหาสมุทรยังไม่ถือว่าอยู่ในสัดส่วนพลังงาน (energy mix) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมกับเผยว่า "พลังงานหมุนเวียนจากมหาสมุทร/ทะเล ยังมีศักยภาพอีกมากในภูมิภาคนี้ โดยเฉพาะในประเทศที่เป็นเกาะอย่างอินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เราหวังที่จะผลักดันให้พลังงานหมุนเวียนจากทะเลเข้าไปอยู่ในสัดส่วนพลังงาน ไม่ใช่แค่ในฐานะพลังงานออฟกริด แต่เป็นไมโครกริดและเมนกริดในท้ายที่สุด"

OceanPixel Pte Ltd ซึ่งเป็นบริษัทที่แยกตัวมาจาก Energy Research Institute @ Nanyang Technological University, Singapore (ERI@N) ได้รับเลือกให้เข้ามาบริหารจัดการโครงการดังกล่าวในนามของ ENVIROTEK Pte Ltd.

สำหรับโครงการนี้ ENVIROTEK ได้เลือกใช้กังหันรุ่น SIT 250 ที่มีขนาด 62kW มีเส้นผ่านศูนย์กลางโรเตอร์ 4 เมตร และได้รับการออกแบบให้ทนทานและประหยัดต้นทุน กังหันดังกล่าวยึดติดกับทุ่นลอยน้ำคานคู่พร้อมโครงยก ซึ่งช่วยให้ยกกังหันขึ้นลงน้ำได้อย่างง่ายดาย Dr. Ralf Starzmann ผู้อำนวยการฝ่ายขายของ SCHOTTEL Hydro อธิบายว่า "เราเชื่อว่าระบบลอยน้ำนี้เหมาะสำหรับการเก็บเกี่ยวพลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลง เนื่องจากช่วยลดต้นทุนการติดตั้งและการซ่อมบำรุงด้วย"

Lita Ocean บริษัทชิปปิ้งในสิงคโปร์ ได้รับมอบหมายให้สร้างทุ่นลอยน้ำคานคู่ และติดตั้งกังหัน SIT 250 บนทุ่นดังกล่าว Yeo Ying Da ผู้อำนวยการบริษัท Lita Ocean กล่าวถึงความยากลำบากในโครงการนี้ว่า "ความท้าทายหลักของโครงการนี้คือ การออกแบบทุ่นลอยน้ำให้เหมาะสำหรับการติดตั้งกังหัน และมั่นคงสำหรับการหมุนแบบสองทิศทาง"

การติดตั้งทุ่นลอยน้ำคานคู่และกังหันเป็นความร่วมมือระหว่าง Lita Ocean, OceanPixel, Aquatera, NTU Singapore และ Orcades Marine โดย Lita Ocean ได้ทำงานร่วมกับผู้รับเหมาทางทะเลที่กล่าวถึงข้างต้น เพื่อสร้างเชือกโยงทุ่นและสมอสำหรับยึดตำแหน่งทุ่น หลังจากโยงทุ่นออกมาจากเรือ โดยมีบุคลากรของ Aquatera และ Orcades Marine เป็นผู้ควบคุมการดำเนินงาน ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการทดสอบการทำงานของกังหันในเดือนมีนาคม ด้วยการสนับสนุนจากทีมวิศวกรของ SCHOTTEL Far East ประจำสิงคโปร์

http://photos.prnasia.com/prnvar/20170309/8521701541-b

David Thomson กรรมการผู้จัดการของ Orcades Marine Management Consultants Ltd. ได้เผยถึงการทำงานในสิงคโปร์เมื่อเทียบกับอังกฤษว่า "เราต้องตระหนักถึงทุกฝ่ายที่ใช้พื้นที่ทำงานเดียวกันกับเรา" ขณะที่ Dr. Gareth Davies จาก Aquatera กล่าวเสริมว่า "สิ่งหนึ่งที่เราให้ความสำคัญคือ การเรียนรู้วิธีติดตั้งเทคโนโลยีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เราต้องเรียนรู้เทคนิคและใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับภูมิภาค โดยเราได้นำเทคนิคจากยุโรปมาทดลองและปรับให้เข้ากับสภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

การติดตั้งกังหันในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาทักษะความรู้ด้านพลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลงในสิงคโปร์ และหวังว่าจะสามารถนำไปใช้พัฒนาอุตสาหกรรมในระดับภูมิภาคต่อไป

http://photos.prnasia.com/prnvar/20170309/8521701541-c

Dr. Srikanth Narasimalu ผู้อำนวยการโครงการและนักวิทยาศาสตร์อาวุโสของคณะทำงาน Wind and Marine Renewables จากสถาบัน ERI@N กล่าวว่า โครงการนี้เพิ่มความน่าเชื่อถือของสิงคโปร์ในฐานะศูนย์กลางการพัฒนาระบบดังกล่าว ขณะเดียวกัน Jefferson Cheng ประธานของ ENVIROTEK กล่าวว่า "โครงการนี้ได้เผยให้เห็นถึงศักยภาพของโซลูชั่นดังกล่าว อีกทั้งยังช่วยปูทางไปสู่การใช้พลังงานหมุนเวียนทางทะเลในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อีกด้วย"

เกี่ยวกับ ENVIROTEK

ENVIROTEK เป็นบริษัทสิงคโปร์ที่มุ่งลงทุนในเทคโนโลยีสะอาด โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียนจากมหาสมุทร/ทะเล โดยบริษัทได้ร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาพลังงานจากคลื่น (ผ่านทางบริษัท Global Renewable Solutions ในออสเตรเลีย) และพลังงานจากน้ำขึ้นน้ำลง อาทิ โครงการ Black Rock Tidal Power ในแคนาดา รวมถึงโครงการสาธิตของบริษัทบนเกาะเซ็นโตซาในสิงคโปร์ www.envirotek.sg

เกี่ยวกับ OceanPixel

OceanPixel เป็นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเน้นไปที่การจัดหาเทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืนทางพลังงาน โดยเฉพาะพลังงานหมุนเวียนนอกชายฝั่ง/มหาสมุทร/ทะเล OceanPixel นำเสนอข้อมูล รายงาน และบริการทางเทคนิคสำหรับหลากหลายสถานที่ หลากหลายอุปกรณ์ และหลากหลายระบบ เพื่อรองรับการพัฒนาโครงการในขั้นต่างๆ OceanPixel มีสำนักงานใหญ่อยู่ในสิงคโปร์ และมีสำนักงานสาขากระจายตัวอยู่ในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และในอีกหลายแห่งทั่วเอเชีย www.oceanpixel.org






noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม