หน้า: 1

ชนิดกระทู้ ผู้เขียน กระทู้: การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่และปอดบวมช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอัลไซเมอร์  (อ่าน 19 ครั้ง)
add
เรทกระทู้
« เมื่อ: 3 ส.ค. 20, 09:33 น »
ตอบโดยอ้างถึงข้อความ
Send E-mail

แบ่งปันกระทู้นี้ให้เพื่อนคุณอ่านไหมคะ?

ปิดปิด
 

การประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์เผยการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และปอดบวมช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์


ผลวิจัยใหม่ล่าสุดที่เผยแพร่ในการประชุมนานาชาติของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ หรือ Alzheimer's Association International Conference(R) (AAIC(R)) 2020 ระบุว่า การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่และปอดบวมช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์

ข้อมูลสำคัญจาก 3 การวิจัยที่เปิดเผยในการประชุม AAIC 2020 มีดังนี้

- การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่หนึ่งครั้งทำให้อุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์ลดลง 17% และการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่บ่อยกว่านั้นทำให้อุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์ลดลงอีก 13%
- การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมให้ผู้สูงวัยอายุ 65-75 ปี ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์สูงสุด 40% ขึ้นอยู่กับยีนของแต่ละคน
- ผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อมมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตหลังติดเชื้อสูงกว่า (6 เท่า) เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่มีภาวะสมองเสื่อม (3 เท่า)

“วัคซีนเป็นสิ่งที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดในวงการสาธารณสุขท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เราจำเป็นต้องศึกษาประโยชน์ของวัคซีนทั้งในแง่ของการป้องกันการติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย และการยกระดับการดูแลสุขภาพในระยะยาว” ดร.มาเรีย ซี คาร์ริลโล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิทยาศาสตร์ของสมาคมโรคอัลไซเมอร์ กล่าว

“การฉีดวัคซีนเป็นการดูแลสุขภาพง่าย ๆ แต่ได้ประโยชน์หลายทาง หนึ่งในนั้นคือช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์และภาวะสมองเสื่อม” ดร.คาร์ริลโล กล่าว “การวิจัยนี้กระตุ้นให้เกิดการวิจัยทางคลินิกเพิ่มเติมที่มีขนาดใหญ่และหลากหลายมากขึ้น เพื่อยืนยันว่าการฉีดวัคซีนเป็นกลยุทธ์ด้านสาธารณสุขที่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้น”

วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลอาจลดการเกิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์

ผลวิจัยก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่า การฉีดวัคซีนอาจมีคุณสมบัติในการป้องกันการเสื่อมถอยของสมอง แต่ยังไม่มีการศึกษาขนาดใหญ่และครอบคลุมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่กับความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์โดยเฉพาะ เพื่ออุดช่องว่างดังกล่าว อัลเบิร์ต อัมราน นักศึกษาแพทย์จาก McGovern Medical School at The University of Texas Health Science Center at Houston และทีมงาน ได้ทำการศึกษาชุดข้อมูลบันทึกสุขภาพของชาวอเมริกันจำนวนมหาศาล (n=9,066)

อัมรานและทีมงานพบว่า การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่หนึ่งครั้งทำให้ความชุกของโรคอัลไซเมอร์ลดลง (odds ratio 0.83, p
คณะนักวิจัยพบว่า ความสัมพันธ์เชิงป้องกันระหว่างวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่กับความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์มีความชัดเจนที่สุดในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนครั้งแรกเร็วกว่า ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ครั้งแรกเมื่ออายุ 60 ปี ได้รับประโยชน์มากกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ครั้งแรกเมื่ออายุ 70 ปี

“การศึกษาของเราบ่งชี้ว่า การฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมีราคาถูกและเข้าถึงง่ายมาก อาจช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะสมองเสื่อมจากโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างมีนัยสำคัญ” อัมรานกล่าว “เราจำเป็นต้องทำการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อศึกษาการทำงานของกลไกทางชีวภาพในร่างกาย ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในขณะที่เรากำลังศึกษาหาวิธีการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ที่มีประสิทธิภาพ”

วัคซีนป้องกันโรคปอดบวมอาจลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในช่วงบั้นปลายชีวิต

การนำวัคซีนที่มีอยู่แล้วมาใช้ประโยชน์อาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ ดร.สเวตลานา ยูเครนเซวา รองศาสตราจารย์วิจัยประจำ Biodemography of Aging Research Unit (BARU) at Duke University Social Science Research Institute และทีมงาน ได้ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการฉีดวัคซันป้องกันโรคปอดบวมอย่างเดียวหรือฉีดร่วมกับวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ กับความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในผู้ป่วยอายุ 65 ปีขึ้นไปจำนวน 5,146 คน ในการศึกษา Cardiovascular Health Study นอกจากนั้นยังมีการพิจารณายีนเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ นั่นคือ TOMM40 rs2075650 G allele

คณะนักวิจัยพบว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมระหว่างอายุ 65-75 ปี ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ 25-30% หลังปรับข้อมูลเพศ เชื้อชาติ การเกิด การศึกษา การสูบบุหรี่ และจำนวน G alleles โดยพบว่าความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ลดลงมากที่สุด (สูงสุด 40%) ในกลุ่มที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมและไม่มียีนเสี่ยง นอกจากนี้ จำนวนครั้งในการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมและไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยอายุระหว่าง 65-75 ปี ยังสัมพันธ์กับความเสี่ยงในการเกิดโรคอัลไซเมอร์ที่ลดลง อย่างไรก็ดี ไม่พบผลลัพธ์ดังกล่าวในกลุ่มที่ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่อย่างเดียว

“การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมก่อนอายุ 75 ปีอาจลดความเสี่ยงการเกิดโรคอัลไซเมอร์ในช่วงบั้นปลายชีวิต ขึ้นอยู่กับยีนของแต่ละคน” ดร.ยูเครนเซวา กล่าว “ข้อมูลเหล่านี้บ่งชี้ว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดบวมอาจเป็นความหวังในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ โดยเฉพาะในผู้ที่ไม่มียีนเสี่ยง”

noticeแจ้งลบความคิดเห็นนี้   บันทึกการเข้า

กระทู้ฮอตในรอบ 7 วัน

Tags:
Tags:  

หน้า: 1

 
ตอบ

ชื่อ:
 
แชร์ไป Facebook ด้วย
กระทู้:
ไอค่อนข้อความ:
ตัวหนาตัวเอียงตัวขีดเส้นใต้จัดย่อหน้าชิดซ้ายจัดย่อหน้ากึ่งกลางจัดย่อหน้าชิดขวา

 
 

[เพิ่มเติม]
แนบไฟล์: (แนบไฟล์เพิ่ม)
ไฟล์ที่อนุญาต: gif, jpg, jpeg
ขนาดไฟล์สูงสุดที่อนุญาต 20000000 KB : 4 ไฟล์ : ต่อความคิดเห็น
ติดตามกระทู้นี้ : ส่งไปที่อีเมลของสมาชิกสนุก
  ส่งไปที่
พิมพ์อักษรตามภาพ:
พิมพ์ตัวอักษรที่แสดงในรูปภาพ
 
:  
  • ข้อความของคุณอยู่ในกระทู้นี้
  • กระทู้ที่ถูกใส่กุญแจ
  • กระทู้ปกติ
  • กระทู้ติดหมุด
  • กระทู้น่าสนใจ (มีผู้ตอบมากกว่า 15 ครั้ง)
  • โพลล์
  • กระทู้น่าสนใจมาก (มีผู้ตอบมากกว่า 25 ครั้ง)
         
หากท่านพบเห็นการกระทำ หรือพฤติกรรมใด ๆ ที่ไม่เหมาะสม ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียแก่สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึง การใช้ข้อความที่ไม่สุภาพ พฤติกรรมการหลอกลวง การเผยแพร่ภาพลามก อนาจาร หรือการกระทำใด ๆ ที่อาจก่อให้ผู้อื่น ได้รับความเสียหาย กรุณาแจ้งมาที่ แนะนำติชม